
วิธีใช้ไคโตซานเพียวคลุกปุ๋ยเม็ด
ทำไมต้องใช้ ไคโตซานร่วมกับปุ๋ย
- เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับธาตุอาหาร ช่วยให้พืชดูดซับแร่ธาตุต่างๆไปใช้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม
- ไคโตซานช่วยยึดปุ๋ย (เก็บปุ๋ยไว้ในดิน)ช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยที่เกิดจากการระเหย และการใหลไปกับน้ำ ดังนั้นการใช้ไคโตซานจึงช่วยประหยัดปุ๋ย
วิธีใช้ ใช้ไคโตซาน 300 ซีซี ผสมน้ำ 1 ลิตร ผสมปุ๋ย 50 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปหว่าน หรือหยอด

การใช้กับปุ๋ยน้ำ
การใช้ไคโตซานเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ปุ๋ยธรรมชาติ (Fertilizers / Soil Stabilizers)
ปุ๋ยน้ำในรูปของปุ๋ยเข้มข้นนอกจากมีประโยชน์มากมายแล้วแต่ก็มีข้อเสียหลายประการ เช่น แห้งเร็วเกินกว่าที่สารอาหารจะซึมผ่านเข้าทางใบ เป็นพิษต่อพืช
และง่ายต่อการถูกชะล้างด้วยน้ำฝน ไคโตซานทั้งในรูปมาตรฐานหรือในรูป microcrystalline
ถูกใช้ผสมในปุ๋ยน้ำสำหรับพืชไม้ดอก มีข้อดีหลายประการ เช่น
สามารถยึดติดกับผิวของพืช ผิวดินได้ดี ทนต่อการถูกชะล้าง ลดการระเหยของน้ำ
สามารถเป็นตัวควบคุมการปลดปล่อยสารอาหารและยาให้กับพืชได้ ทำให้การแพร่กระจายตัวของปุ๋ยน้ำดีขึ้นและมีความคงตัวสูง

การใช้ไคโตซานป้องกันแมลงศัตรูพืช
การทำงาน : กระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกัน โดยผลิตเอ็นไซม์ และสารเคมีป้องกันตนเองให้มากขึ้น เช่น สร้างสารลิกนิน แทนนิน เพื่อป้องกันตัวเองจากการ กัด-ดูดของแมลงได้มากขึ้น (พืชที่ได้รับไคโตซานจะมีแวกซ์เคลือบที่ผิวใบ และกระตุ้นให้สร้างไคติเนส ซึ่งสามารถย่อยเปลือกผนังหุ้มตัวแมลง ศัตรูพืช เช่น หนอนใย หนอนคืบ
วิธีการใช้ : ฉีดพ่นทางใบ 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

วิธีใช้ไคโตซานเพียว ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวเชื้อสาเหตุก่อให้เกิดโรคพืช
ใช้ป้องกันและยับยั้งโรคนพืช โดย ยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อสาเหตุของโรคพืช และสร้างภูมิต้านทานโรค ที่เกิดจาก
- เชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืช
- แบคทีเรีย ก่อให้เกิดโรค เช่น แคงเคอร์ ใบจุด
- เชื้อราสาเหตุก่อให้เกิดโรคพืช เช่น เชื้อราไฟทอปธอร่า สาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า ผลเน่า ในทุเรียน โรคกล้าเน่าในพืชผักสลัด เชื้อพิเทียม โรคแอนแทรคโนส ราน้ำค้าง ใบติด ราขาว โรคใบจุด โรคใบสีส้มข้าว ใบลาย
วิธีการใช้ : ใช้ไคโตซานเพียว ฉีดพ่นทางใบ ในอัตรา ไคโตซาน 10 – 20 ซีซี ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 15 วันครั้ง

วิธีใช้ไคโตซานเพียว เคลือบเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อป้องกันและลดความเสียหายที่อากเกิดจากเชื้อราและแมลง
วิธีใช้ : ใช้ไคโตซานเพียว 10 ซีซี ผสมน้ำสะอาด 1 ลิตร แล้วนำเมล็ดพันธุ์ไปแช่เป้นเวลา 6 ชั่วโมง

วิธีใช้ไคโตซานเพียว เร่งการเจริญเติบโตในพืชผัก
เช่น คะน้า หน่อไม้ฝรั่ง หอม และพืชผักอื่นๆ ช่วยให้โตไว ให้น้ำหนักผลผลิต มากกว่า 20-40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับพืชผักที่ไม่ได้ฉีดพ่นไคโตซาน
วิธีใช้ : ใช้ไคโตซานเพียว ในอัตรา 10- 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วันครั้ง ประมาณ 3-4 ครั้ง

วิธีการใช้ไคโตซานสำหรับนาข้าว
- การปรับสภาพดินด้วยไคโตซานก่อนทำการเพาะปลูก (ช่วงไถ)
ใช้ไคโตซาน 300 ซีซี ต่อน้ำ 30- 50 ลิตร ผสมให้เข้ากันแล้ว น้ำไปราดให้ทั่วนาข้าวต่อไร่
กรณีดินเสียมาก (ดินมีค่า PH ต่ำกว่า 4.5 ) และต้องการปรับสภาพดิน ให้ไถกลบหน้าดินก่อนแล้ว ใช้ไคโตซานพืช 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ราดบนหน้าดิน ต่อ 1 ไร่ เพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้ดินและ เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน
- คลุกเมล็ดพันธุ์ (การเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยไคโตซาน)
ใช้ไคโตซาน 40 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร กวนให้เข้ากัน แล้วนำไปราดบนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่แล้วในกระสอบ ปิดปากกระสอบไว้ เหมือนเดิม ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นจึงนำเมล็ดพันธุ์ไปหว่าน จะช่วยให้เมล็ดพันธุ์งอกเร็ว ได้ต้นพันธุ์ที่มีรากยาวกว่าปกติ ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงทนทานโรค
การใช้ไคโตซาน ฉีดพ่นทางใบสำหรับต้นข้าวในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต
- อายุต้นข้าวได้ 1 เดือน (ให้ฉีดพร้อมยาคลุมหญ้า) ใช้ ไคโตซาน 300 ซีซี ผสมกับน้ำสะอาด 20 ลิตร กวนผสมให้เข้ากัน แล้วจึงใส่ยาคลุมหญ้า ผสมลงไปทีหลัง
- อายุต้นข้าวได้ 2 เดือน
ฉีดพ่นไคโตซานพืชอีก 1 ครั้ง โดยใช้ไคโตซาน 40 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่ว
- อายุต้นข้าวได้ 3 เดือน
ข้าวตั้งท้องให้ฉีดอีก 1 ครั้ง โดยใช้ ไคโตซาน 40 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดให้ทั่ว
- ต้นข้าวที่เป็นโรค ใช้ไคโตซานพืช 100 – 150 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่ว และ อีก 5 วันให้ฉีดซ้ำอีกครั้ง
- ต้นข้าวหน้าหนาว ใช้ไคโตซาน 100 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่ว
- การใช้ไคโตซาน ร่วมกับปุ๋ยเคมี
ใช้ไคโตซาน 500 ซีซี ผสมน้ำ 1 ลิตร ต่อ ปุ๋ยเคมี 100 กก. ( 2 กระสอบ) คลุกเคล้าให้เข้ากัน ผึ่งให้หมาดๆ เพื่อให้ไคโตซานเคลือบเมล็ดปุ๋ยไว้ จะได้ยืดอายุปุ๋ยให้สลายช้าลง ช่วยให้พืชมีปุ๋ยไว้กินได้นานขึ้น แล้วนำไปหว่านให้ทั่วสวน ถ้าใช้ไม่หมดสามารถเก็บไว้ใช้ครั้งต่อไปได้

วิธีใช้ไคโตซานกับผักกินใบ
- การเพาะพันธุ์กล้า ผักกาด กวางตุ้ง คะน้า ผักบุ้งจีน ผักกาดหอม ผักชี ใช้ไคโตซานคลุกเมล็ดพันธุ์ ก่อนหว่าน อัตราส่วนผสมไคโตซาน 20 ซีซี ผสมน้ำ 100 ซีซี คลุกให้เข้ากันแล้วนำไปหว่าน
- ปรับสภาพดินก่อนปลูก
ใช้ไคโตซาน 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นแปลงก่อนทำการเพาะปลูก 7-10 วัน
- การใช้ไคโตซานคลุกปุ๋ย
ใช้ไคโตซาน 300 ซีซี ผสมน้ำ 1 ลิตร ผสมปุ๋ย 50 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปหว่าน หรือหยอด
- ฉีดพ่นทางใบ ใช้ไคโตซาน 10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุกๆ 5- 7 วัน ใช้ร่วมกับสารเคมีได้ แต่ต้องผสมไคโตซานกับน้ำก่อน แล้วค่อยเติมสารเคมีลงไปผสมทีหลัง
ผลลัพธ์ที่ได้เมื่อใช้ไคโตซานกับพืช
ช่วยผักโตไว แข็งแรง คุณภาพดี รสชาติอร่อย เพิ่มผลผลิต (น้ำหนักเพิ่ม) และการฉีดพ่นไคโตซานในแปลงผัก ยังช่วยปรับสภาพดินให้เป็นกลาง ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค ไม่มีสารพิษตกค้างในพืชผัก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การใช้ไคโตซานในยางพารา
- ต้นยางเล็ก
ไคโตซาน 40 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใบ และพื้นดินรอบๆ โคนต้นรัศมี 0-1 เมตร
- ต้นยางที่รัดแล้ว
ใช้ไคโตซาน 80 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณลำต้น และรอบโคนต้นรัศมี 1 เมตร โดย เดือนแรกฉีด พ่นทุก 7 วัน เดือนต่อไปฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน เมื่อต้นยางมีความสมบูรณ์ดี ให้ยืดการฉีดพ่นเป็นเดือนละ 1 ครั้ง
- การทาหน้ายาง
ใช้ไคโตซาน 100 ซีซี ผสมน้ำครึ่งลิตร ผสมกับดินทาหน้ายาง 1 กิโลกรัม ทาบริเวณหน้ายางที่กรีดแล้วทุกๆ 20 – 30 วัน ช้วยให้เปลือกนิ่ม กรีดง่าย น้ำยางเพิ่ม เปอร์เซ็นต์ยางดี ลดปัญหาหน้ายางตายหนึ่ง
- กรณีหน้ายางตายนึ่ง
ใช้ไคโตซาน 100 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณลำต้นและรอบโคนต้นรัศมี 1 เมตร โดยฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน ประมาณ 1- 2 เดือนสามารถเป็ดหน้ายางได้
- ช่วงพักหน้ายาง
ใช้ไคโตซาน 80 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณลำต้นและรอบโคนต้นรัศมี 1 เมตร ทุก 1 เดือน
- การผสมปุ๋ย
ใช้ไคโตซาน 500 ซีซี คลุกกับปุ๋ย 100 กิโลกรัม จนทั่ว แล้วนำไปหว่านเข้าระหว่างแถว

การใช้ไคโตซานปรับสภาพดินก่อนทำการเพาะปลูกพืช
ใช้ไคโตซานเพียว 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นแปลงก่อนทำการเพาะปลูก 7-10 วัน
นำต้นกล้าที่ต้องย้ายปลูกชุบรากด้วย ไคโตซานเพียว ในอัตรา 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร แล้วนำไปปลูก

วิธีใช้ไคโตซานเพียวในพืชทั่วๆไป อาทิเช่นไม้ดอกไม้ประดับ หรือพืชชนิดอื่นๆ
อาทิเช่น ไม้ดอกไม้ประดับที่มีราคาสูงหลายชนิด เช่น ดอกคาร์เนชั่น ดอกเยอบีร่าพันธุ์นอก ดอกบานชื่นฝรั่ง ดอกแคดิโอลัส กุหลาบ กล้วยไม้ และพืชอื่นๆ
ใช้ไคโตซานเพียว ในอัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใบ ลำต้น โคนต้น ทุกๆ 5- 7วันครั้ง
สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีได้ แต่ต้องนำสารเคมีผสมลงไปทีหลัง