เชื้อราไตรโคเดอร์ (Emulsion in Mineral Oil)

เชื้อไตรโคเดอร์มา ในรูปของเหลว ( Trico-Z)

  • เก็บได้นานขึ้น ด้วยเทคนิคปกป้องเชื้อจาก Biopolymer จากธรรมชาติ
  • ทนต่อแสงแดด ไม่ถูกทำลายง่ายๆเหมือนเชื้อไตรโคเดอร์มาทั่วไป
  • ทนต่อรังสี UV
  • ออกแบบเพื่อการฉีดพ่นทางใบ
  • เชื้อทนทานต่อสภาพอากาศแห้งได้อย่างดี

ติดตามเราได้ที่ facebook fanpage : https://www.facebook.com/Mrkasetlove/

 

 

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trico-Z ,ไตรโค-ซี) เชื้อไตรโคเดอร์มา ในรูป Emulsion

เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา

เชื้อราไตรโคเดอร์มา คือเชื้อราชนิดหนึ่งพบได้ในพื้นที่ธรรมชาติ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ไม่ผ่านการใช้สารเคมี อาศัยซากพืชซากสัตว์ อินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งอาหาร  ราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราดีมีประโยชน์ต่อดินและพืช  มีความสามารถในการควบคุมเชื้อราสาเหตุก่อโรคในพืชได้หลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อราก่อโรคที่อยู่ในดิน และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด โดยการสร้างเส้นใยสีขาว และผลิตส่วนขยายพันธุ์ ที่เรียกว่า โคนิเดีย หรือ สปอร์ จำนวนมากเป็นกลุ่มหนาแน่นสีเขียว สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า

ไตรโคเดอร์มา กลไกการควบคุมเชื้อราก่อโรค

เชื้อราไตรโคเดอร์มานอกจากจะทำลายและควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชแล้ว ยังสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย เช่น เช่น Bacillus subtilis, B. amyloloquefaciens, B. cereus, B. lichenisformis, Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Vibrio cholera และ Salmonella typhi

โรคพืชที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมได้ (โรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดิน)

  • โรคเมล็ดเน่า
  • โรคเน่าระดับคอดิน (โรคกล้ายุบ)
  • โรครากเน่า
  • แง่งเน่า
  • โคนเน่า

โรคพืชที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมได้ (โรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่เหนือดิน ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ กิ่ง ใบ ผล หรือ ดอก เช่นโรค

  • โรครากเน่า โคนเน่าในทุเรียน
  • ลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่ง
  • โรคแคงเกอร์ของมะนาว
  • โรคราดำของมะเขือเทศ
  • โรคใบปื้นเหลืองของกล้วยไม้
  • โรคดอกสนิมของกล้วยไม้
  • โรคแอนแทรคโนสของมะม่วง
  • โรคแอนแทรคโนสของพริก ทั้งก่อนเก็บและหลังเก็บเกี่ยว
  • โรครากเน่าของพืชผักสลัด และผักกินใบต่างๆทีปลูกในสารละลายธาตุอาหาร (ระบบไฮโดรโปรนิกส์)
  • ช่วยลดการเกิดโรคเมล็ดด่าง เมล็ดลีบ ของข้าวที่เกิดจากทำลายของเชื้อราหลายชนิด และยังช่วยเพิ่มความสมบูรณ์และน้ำหนักของเมล็ด เพิ่มผลผลิตต่อไร่อีกด้วย โดยการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาแช่เมล็ดข้าวเปลือกก่อนทำการหว่านลงในนาข้าว