เพลี้ยไฟ ภัยทุเรียนรู้จักเพลี้ยไฟก่อนสวนทุเรียนเสียหาย

เพลี้ยไฟทุเรียน

เพลี้ยไฟ ภัยคุกคามสวนทุเรียน (Thrips / Scirtothrips Dorsalis Hood / หรือเรียกอีกชื่อว่า เพลี้ยไฟพริก ) เนื่องจากเพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูพืชอีกชนิดหนึ่งที่ชาวสวนทุเรียนควรทำความรู้จัก เนื่องจากเพลี้ยไฟชนิดนี้ หรือเรียกอีกชื่อว่า เพลี้ยไฟพริก สามารถสร้างความเสียหายให้กับสวนทุเรียนของเราได้อย่างมากทั้งในช่วงที่เป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัย และทำลายทุเรียนได้แทบทุกระยะการเจริญเติบโตของทุเรียน เริ่มตั้งแต่ดูดน้ำเลี้ยงในระยะแตกยอดอ่อน

เพลี้ยไฟ ตัวเต็มวัย

ใบอ่อน ช่วงออกดอก และช่วงผลอ่อน ส่งผลให้ทุเรียนชะงักการเจริญ ผลผลิตต่ำ มีตำหนิทำให้ราคาตก ดังนั้นการรู้จักเพลี้ยไฟ และเข้าใจวงจรชีวิต และระยะที่พวกมันสร้างความเสียหายกับทุเรียน จะช่วยให้เราเฝ้าระวัง

ควบคุมการระบาด ป้องกันได้ทันถ่วงที ก่อนที่เพลี้ยไฟจะสร้างความเสียหายกับสวนทุเรียนของเรา

เพลี้ยไฟ มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • เพลี้ยไฟมีเป็นเพลี้ยที่มีขนาดเล็กมาก ขนาดลำตัวยาวประมาณแค่ 1 มิลลิเมตร
  • ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเหลือง มีปีก 2 คู่
  • เพลี้ยไฟตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
  • วางไข่ในเนื้อเยื่อบนใบอ่อนใกล้เส้นกลางใบ ยอดอ่อนและผลอ่อน
  • ไข่มีขนาดเล็กมาก สีขาวใส มีขนาดยาว 0.2- 0.3 มิลลิเมตร (ขนาดเล็กมากๆ)
  • มีระยะไข่ 2-4 วันแล้วฟักเป็นตัวอ่อน มีสีขาวและเปลี่ยเป็นสีเขียวเข้ม ตัวอ่อนโตเต็มที่มีขนาด 0.7-1 มิลลิเมตร
  • มีระยะตัวอ่อน 4-7 วันก่อนเป็นดักแด้ ช่วงนี้มีลักษณะเหมือนตัวอ่อน แต่มี แผ่นปลีกข้างลำตัว ดักแด้เพลี้ยไฟระยะนี้จะไม่กินอาหาร ไม่เคลื่อนไหว จะอยู่ในระยะดักแด้ 1-2 วันจึงเจริญเป็นตัวเต็มวัย
  • เพลี้ยไฟตัวเมียวางไข่ได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้หรือผสมก็ได้
  • เพลี้ยไฟตัวเต็มวัยมีอายุนาน 7- 30 วัน สามารถวางไข่ได้หลายสิบฟอง

เพลี้ยไฟ แพร่กระจายและระบาด ในสวนทุเรียน ได้อย่างไร

เพลี้ยไฟระบาดมากในช่วงที่อากาศร้อน และมีแสงแดดจัด และพบการระบาดของเพลี้ยไฟมากในช่วง เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

เพลี้ยไฟเข้าทำลายทุเรียนระยะใหนบ้าง

ระยะแตกใบอ่อน เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยง จะเห็นอยู่ตามเส้นกลางใบ เส้นกลางใบมีสีน้ำตาล ทำให้ใบทุเรียนหงิกงอ ใบแห้งและมีลักษณะโค้ง  ใบทุเรียนไหม้และแคระแกร็น ถ้าระบาดรุนแรงทำทำให้ใบอ่อนร่วงได้

เพลี้ยไฟ ทุเรียน

ยอดอ่อน เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต ใบอ่อนหงิก บิดเบี้ยว เสียรูปทรง

ระยะออกดอกอ่อน และดอกบาน พบเพลี้ยไฟตามดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกและก้านเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล  แคระแกร็นและร่วง ถ้าดอกบานเพลี้ยไฟจะอาศัยอยู่ตามเกสรกลีบดอก ทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์และทำให้ดอกร่วงระยะหางแย้ไหม้

เพลี้ยไฟ ทุเรียน

ระยะติดผลอ่อน จะพบเพลี้ยไฟตามซอกหนามทุเรียน ทำให้เกิดการชะงักการเจริญเติบโตของผล ปลายหนามแห้ง หนามเป็นแผล ทำให้หนามทุเรียนติดกันเป็นสาเหตุทุเรียนหนามจีบ-หนามติด เมื่อลูกทุเรียนโต ทำให้ราคาตก

วิธีป้องกันและกำจัด

เดินสำรวจแปลงทุกๆ 3 วัน โดยเฉพาะในช่วงแตกใบอ่อน ช่วงออกดอก และช่วงติดผลอ่อน

อาการ เพลี้ยไฟ ทุเรียน

การใช้เครื่องฉีดพ่นน้ำในช่วงแล้งให้ใบเปรียกโชกทั่วทรงพุ่มช่วยลดปริมาณของเพลี้ยไฟหรือใช้ระบบน้ำเหวี่ยงพ่นน้ำ 1-2 ชั่วโมงต่อวันในช่วงหน้าแล้ง ทำให้เพลี้ยไฟอยู่ในระดับต่ำ

โรค เพลี้ย ไฟ ใน ทุเรียน

การเพิ่มความชื้นในแปลงโดยการให้น้ำ ยังช่วยเพิ่มปริมาณศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟ ให้มากขึ้นในช่วงหน้าแล้ง จะช่วยควบคุมปริมาณของเพลี้ยไฟได้อีกทางหนึ่งด้วย

ใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในกรณีเกิดการระบาดของเพลี้ยไฟ อาทิเช่น

ยา กํา จัด เพลี้ย ไฟ ทุเรียน
  • อิมิดาโคลพริด (imidacloprid (Confidor 100SL 10% SL)) อัตรา 10-20 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร สำหรับถังสะพายหลัง  /  100-200 มิลลิลิตรต่อน้ํา 200 ลิตร สำหรับถัง 200 ลิตร
  • ฟิโปรนิล  (Fiproni ( Assend 5% SC) ) ใน 10-20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร /อัตรา 100-200 มิลลิลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร
  • อะบาเมกติน (Abametin) อัตรา 15-20  มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร / อัตรา 150-200  มิลลิลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร
  • คาร์โบซัลแฟน (Carbosulfan 20% EC) อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร / 400 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร

การใช้สารเคมีควบคุมเพลี้ยไฟทุเรียน  ไม่ควรใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทําให้ดื้อยา ทำให้เพลี้ยไฟสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้

Custom footer text for child theme