ทุเรียน

หมวดหมู่:

รายละเอียดเพิ่มเติม

ดินสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการปลูกทุเรียน

ควรเป็นดินที่สามารถระบายน้ำได้ดี ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวปนทราย มีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 ซม. ทุเรียนเป็นพืชที่รากหากินไม่ลึกมาก ประมาณ 30-50 ซม ระดับน้ำใต้ดินควรมากกว่า 75 ซม. ระดับน้ำที่ตื้นเกินไป จะทำให้ระบบรากทุเรียนเสียงต่อการเป็นโรครากเน่าโคนเน่า

การปลูกทุเรียนในดินทรายแนะนำให้นำหน้าดินจากแหล่งอื่นมาผสมร่วมด้วยและควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย

ค่าความเป็นกรดด่างดินที่เหมาะสม คือ 5.5-6.5

แหล่งน้ำ ทุเรียนใช้น้ำประมาณ 600-800 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 6.0-7.5

เคล็ดลับการลดต้นทุน
การปลูกทุเรียนในสภาพพื้นที่และอากาศเหมาะสม ต้นเจริญเติบโตดีช่วยลดต้นทุนการใช้ปัจจัยการผลิต

ขั่นตอนการปลูกทุเรียน

การเตรียมพื้นที่ปลูก
พื้นที่ดอน ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมขัง ให้ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบ เพื่อความสะดวกในการจัดการระบบน้ำ การทำร่องระบายน้ำ และทำทางเพื่อความสะดวกในการขนย้ายผลผลิต สำหรับการปลูกทุเรียนในพื้นที่ดอนไม่จำเป็นต้องยกโคก

พื้นที่ลุ่ม ควรยกโคกและปลูกด้านบน เพื่อป้องกันน้ำขังโคน ควรยกร่องสวนให้มีขนาดสันร่องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร มีระบบระบายน้ำเข้า-ออกเป็นอย่างดี

การดูแลบำรุงรักษา

การใส่ปุ๋ยทุเรียนตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต

FAQs คำถามเกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยทุเรียน 

ทุเรียนปลูกใหม่อายุ 1- 6 เดือนใส่ปุ๋ยอะไรดี

1-3 เดือนแรกควรใส่ปุ๋ยคอกผ่านการย่อยดีแล้ว หรือปุ๋ยคอกหมัก , ปุ๋ยหมัก ,และปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ

3- 6 เริ่มให้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีได้ และหลัง 6 เดือนขึ้นไปควรใส่ปุ๋ยเคมีอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง

ทุเรียนปลูกใหม่เริ่มให้ปุ๋ยได้เมื่อไหร่

หลังปลูก 2 สัปดาห์ ถ้าต้นทุเรียนไม่มีอาการเหี่ยวเฉา เริ่มให้ปุ๋ยทางใบได้ และเมื่อทุเรียนเริ่มแตกยอดใหม่ จึงเริ่มให้ปุ๋ยทางดิน การที่ทุเรียนแตกยอดใหม่ แสดงว่าระบบรากทุเรียนพร้อมกินอาหาร

ปุ๋ยทางใบทุเรียนปลูกใหม่

ปุ๋ยทางใบทุเรียนอายุ 1- 3 เดือนแรก : ควรเป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือ น้ำหมักชีวภาพ โดยเฉพาะปุ๋ยน้ำที่สกัดจากปลาทะเลจะช่วยให้ทุเรียนปลูกใหม่หรือทุเรียนเล็กตั้งตัวได้ไว แร่ธาตุที่ได้จากปลาทะเลจะช่วยให้ระบบรากของทุเรียนพัฒนาได้รวดเร็ว มีรากเยอะ ทำให้ทุเรียนแตกยอดดี

อัตราการใส่ปุ๋ย เคมี,อินทรีย์,ปุ๋ยคอก,ปุ๋ยหมัก,ทางดิน ทุกช่วงของการเจริญเติบโต
ทุเรียน 1-8 เดือน

อัตราการใส่ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก : 5 กิโลกรัม/ต้น ,ใส่เดือนเว้นเดือนหรือแบ่งใส่ทุกเดือนๆละ 2.5 กิโลกรัม (1 บุ้งกี๋=2.5 กิโลกรัม

อัตราการใส่ปุ๋ยเคมี : ในช่วง 1-6 เดือนแรกยังไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมี ถ้ามีความจำเป็นต้องใส่เพราะดินขาดความสมบูรณ์ ให้ใส่ ต้นละ 20- 30 เม็ด (ประมาณ 1 ช้อนชา)

วิธีใส่ : ใส่ห่างจากโคนต้น 20- 30 เซ็นติเมตร โดยให้หว่านปุ๋ยคอกก่อน แล้วหว่านปุ๋ยเคมีตาม หลังให้ปุ๋ยต้องขึ้นน้ำตามทุกครั้ง

ทุเรียน 8 เดือน -1 ปี

อัตราการใส่ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก : 5 กิโลกรัม/ต้น ,ใส่เดือนเว้นเดือนหรือแบ่งใส่ทุกเดือนๆละ 2.5 กิโลกรัม (1 บุ้งกี๋=2.5 กิโลกรัม

อัตราการใส่ปุ๋ยเคมี : ทุเรียน 8 เดือนขึ้นไป ควรใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 หรือ 15-15-15 ต้นละ 50-100กรัมเดือนละครั้ง เพื่อสร้างการเติบโตทางโครงสร้างของต้นทุเรียน โดยเฉพาะลำต้นและกิ่ง

วิธีใส่ : ใส่ห่างจากโคนต้น 20- 30 เซ็นติเมตร โดยให้หว่านปุ๋ยคอกก่อน แล้วหว่านปุ๋ยเคมีตาม หลังให้ปุ๋ยต้องให้น้ำตามทุกครั้ง

ทุเรียน 1-4 ปี

อัตราการใส่ปุ๋ย ใส่ตามขนาดรัศมีทรงพุ่ม โดยวัดจากโคนต้นถึงชายพุ่ม (เมตร) ใส่ 2 ครั้ง/ปี ครั้งที่ 1 ต้นฝน ครั้งที่ 2 ปลายฝน

รัศมีทรงพุ่ม
วัดจากโคนถึงชายทรงพุ่ม
ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก
ใส่ 2 ครั้ง/ปี
ปุ๋ยเคมี
ใส่2ครั้ง/ปี
1 เมตร5 กก./ต้น 1 กิโลกรัม/ต้น
2 เมตร10 กก./ต้น2 กิโลกรัม/ต้น
3 เมตร15 กก./ต้น3 กิโลกรัม/ต้น
4 เมตร20 กก./ต้น4 กิโลกรัม/ต้น
5 เมตร25 กก./ต้น5 กิโลกรัม/ต้น
6 เมตร30 กก./ต้น6 กิโลกรัม/ต้น

ในปัจจุบันการทำสวนทุเรียนเป็นเชิงพานิชย์มากขึ้นมีการจัดการที่ดีขึ้น มีระบบน้ำ มีแหล่งน้ำ มิได้อาศัยน้ำฝนจากฤดูการเพียงอย่างเดียว

ดังนั้นการใส่ปุ๋ยไม่จำเป็นต้องใส่เพียงปีละ 2 ครั้ง คือช่วงต้นฝนและปลายฝนเหมือนในอดีต เมื่อมีระบบน้ำและแหล่งน้ำพร้อม เราสามารถเพิ่มความถี่รอบการใส่ปุ๋ยได้ โดยแบ่งใส่ทุก 15 วัน หรือ ใส่เดือนละครั้ง

ข้อดีของการใส่ปุ๋ยบ่อยๆหรือแบ่งใส่ครั้งละน้อยๆ ช่วยให้ทุเรียนได้รับธาตุอาหารอย่างสม่ำเสมอ ลดการสูญเสียปุ๋ย เช่นแสงแดดทำให้ปุ๋ยระเหิดไปในอากาศ , ไหลไปกับน้ำสู่แม่น้ำลำคลอง , หรือซึมลงดินลึกเกินกว่าที่รากไปถึง

ดังนั้น วิธีใส่ปุ๋ยครั้งละน้อยๆ แต่เพิ่มรอบความถี่การใส่ จึงเป็นบริหารจัดการปุ๋ยให้เกิดประโยชน์ต่อทุเรียนมากที่สุด

วิธีใส่ปุ๋ย ระยะฟื้นต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต

การใส่ปุ๋ยทุเรียนหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อทำใบชุดที่ 1
.
-ใส่ก่อนผลหมด 10 วันหรือใส่หลังลูกหมดก็ได้
-ใส่ 46-0-0 หรือ 15-0-0 หรือใส่ร่วมกับปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 เพื่อกระตุ้นราก แล้วรดน้ำตาม 15-20 นาที (ไม่ควรรดน้ำนานกว่านี้เพราะทำให้ปุ๋ยลงลึกเกินระดับรากหากิน)
-ให้ฉีดพ่นทางใบหลังจากใส่ทางดินได้10วัน เพื่อกระตุ้นตาใบโดยใช้ สาหร่าย+ปุ๋ยเกล็ดตัวหน้าสูง
-ถ้าฝนทิ้งช่วงหรือมีความชื้นน้อย ให้ใส่ 46-0-0 ร่วมกับปุ๋ยเกล็ดสูตรเสมอทางใบอีกครั้ง
-ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 อีกหนึ่งครั้งตอนยอดเริ่มปริ

เมื่อใบเริ่มคลี่(ใบกาง)
.
-ให้ฉีดพ่นสารอาหารทางใบทันที เพื่อป้องกันทุเรียนถ่ายใบเก่าทิ้งทั้งหมด โดยฉีดพ่นด้วยปุ๋ยเกล็ดสูตรเสมอ+ธาตุรองธาตุเสริมครบ (หรือจะใช้ธาตุรองเสริมในรูปคีเลตก็ได้) +ยาฆ่าแมลงเน้นเพลี้นไก่แจ้และเพลี้ยจั๊กจั่นเป็นหลักและใส่ยาหนอนด้วย

ใบกางหมดแล้ว
.
-ให้ฉีดพ่น แมกนีเซี่ยม+ปุ๋ยเกล็ดสูตรเสมอ อีกครั้งเพื่อเร่งใบให้แก่เร็วขึ้น เพื่อร่นเวลาในการดึงใบที่2

การทำใบชุดที่ 2 ไม่ต้องเน้นให้ใบใหญ่กว่าใบที่1

-ทำเหมือนใบชุดที่ 1

ใบชุดที่3 ต้องเล็กกว่าใบชุดที่ 2
-ใส่ 46-0-0
-เว้นระยะ 10 วัน ให้ฉีดทางใบเพื่อกระตุ้นตาใบโดยใช้ สาหร่าย+ปุ๋ยเกล็ดตัวหน้าสูง
-เมื่อยอดเริ่มปริให้ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16
-พอใบเริ่มกาง ให้ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยเกล็ด(สูตร Nต่ำ Pสูง Kสูง) เพื่อสะสมแป้ง +ธาตุรองธาตุเสริมครบ (หรือจะใช้ธาตุรองเสริมในรูปคีเลตก็ได้) +ยาฆ่าแมลงเน้นเพลี้นไก่แจ้และเพลี้ยจั๊กจั่น(ยาหนอนก็ต้องใส่)
-พอใบกางหมดแล้ว ให้ฉีดพ่น แมกนีเซี่ยม+ปุ๋ยเกล็ด(สูตร Nต่ำ Pสูง Kสูง )อีกครั้งเพื่อเร่งใบให้แก่เร็วขึ้น

ข้อควรระวังในใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์เพื่อฟื้นฟูต้นหลังเก็บเกียวผลผลิต
ไม่ควรใส่ปุ๋ยคอกที่เป็นมูลวัว หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีใช้วัตถุดิบหลักเป็นมูลวัว เพราะมูลวัวให้ธาตุไนโตรเจนสูงมากและปลดปล่อยช้าออกมาช้า ทำให้ยากต่อการทำดอกทุเรียน โดยเฉพาะทุเรียนที่ไม่ทำสาร

การให้น้ำทุเรียนในระยะต่างๆ

แมลง&ไร ศัตรูที่สำคัญในทุเรียน

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทำลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากลักษณะภายนอกได้ หนอนเจาะเข้าไปในผลทุเรียนถ่ายมูลออกมาปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียนทำให้เนื้อทุเรียนเสียคุณภาพ จนกระทั่งเมื่อหนอนโตเต็มที่พร้อมเข้าดักแด้ จะเจาะเปลือกเป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนพื้นดินเพื่อเข้าดักแด้ในดิน และมักพบความเสียหายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้วหนอนเจาะออกมา

การติดตามและเฝ้าระวัง

ช่วงทุเรียนติดผลให้พยามสำรวจสังเกตุตัวเต็มวัยของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนในกับดักแสงไฟ (black light)
ทุก 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะหลังฝนตกหนักตรวจดูทุกวัน

5 วิธีการป้องกันและกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

วิธีป้องกันกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
  1. ไม่ควรนำเมล็ดทุเรียนจากที่อื่นเข้ามาในแหล่งปลูก
    .
    ถ้ามีความจำเป็นควรทำการคัดเลือกเมล็ดอย่างระมัดระวัง หรือแช่เมล็ดด้วยสารฆ่าแมลง เช่น มาลาไทออน (malathion) 83% EC อัตรา40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล (carbaryl) 85% WP อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ก่อนทำการขนย้ายจะช่วยกำจัดหนอนได้
    .
  2. การห่อผลทุเรียน
    .ถุงกันแมลงใช้ห่อผลทุเรียน
    โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์เป็นต้นไป จนถึงเก็บเกี่ยว โดยจใช้ถุงพลาสติกสีขาวขุ่นขนาด 40 x 75 เซนติเมตร เจาะก้นถุงเพื่อระบายน้ำสามารถป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยมาวางไข่ได้ ก่อนห่อตรวจสอบผลทุเรียนที่จะห่อให้ปราศจากการทำลายของหนอนเจาะผลและเพลี้ยแป้ง ถ้ามีให้กำจัดโดยการเขี่ยหรือใช้แปรงปัดออก แล้วพ่นด้วยสารฆ่าแมลง คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ20 ลิตร
    .
  3. การป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน โดยการพ่นสารฆ่าแมลงและห่อด้วยถุงพลาสติก

    เมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์ให้เริ่มพ่นสารฆ่าแมลงต่อไปนี้
    -> แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน (lambda-cyhalothrin) 2.5% CS อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
    -> คาร์บาริล (carbaryl) 85% WPอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ20 ลิตร
    ทำการฉีดพ่นห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์

    *เลือกใช้ตัวใหนก็ได้

    เมื่อผลอายุ 10 สัปดาห์ ห่อด้วยถุงพลาสติกขาวขุ่น ขนาด 40 x 75 เซนติเมตร เจาะก้นถุงเพื่อระบายน้ำ โดยการเลือกห่อเฉพาะผลที่มีขนาดและรูปทรงได้มาตรฐาน

    ก่อนห่อผลควรมีการสำรวจเพลี้ยแป้ง ถ้าพบเพลี้ยแป้งระบาดควรพ่นสารคลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ20 ลิตร
    .
  4. การใช้กับดักแสงไฟโดยใช้หลอด black light
    .
    เพื่อล่อตัวเต็มวัยหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนมาทำลายสามารถช่วยลดการระบาดของแมลงชนิดนี้ลงได้มากเนื่องจากตัวเต็มวัยแต่ละตัวมีไข่ประมาณ 100 – 200 ฟองและกับดักแสงไฟยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือตรวจการระบาดของแมลงชนิดนี้ได้ เพื่อให้ทราบว่ามีแมลงระบาดในช่วงไหน ควรใช้สารฆ่าแมลง (ถ้าจำเป็น) มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลดจำนวนการพ่นสารฆ่าแมลงอย่างที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ตั้งแต่ทุเรียนเริ่มออกดอก
    .
  5. การป้องกันกำจัดโดยใช้สารฆ่าแมลง เมื่อพบว่าตัวเต็มวัยเริ่มระบาดให้ใช้สารกำจัดแมลงดังต่อไปนี้
    .
    -> สารกำจัดแมลง คาร์บาริล (carbaryl) 85% WP อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ20 ลิตร
    -> สารกำจัดแมลง เดลทาเมทริน (deltamethrin) 3% EC อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
    -> แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน (lambda-cyhalothrin) 2.5% CS อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
    -> เบตา-ไซฟลูทริน (beta-cyfluthrin) 2.5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
    ฉีดพ่นทุก 7 วันครั้ง เริ่มเมื่อผลทุเรียนอายุ 6 สัปดาห์

    ***สารฆ่าแมลงสามารถเลือกใช้ตัวใหนก็ได้
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (durian psyllid) หรือเรียกอีกชื่อว่า เพลี้ยไก่ฟ้า

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (durian psyllid) หรือเรียกอีกชื่อว่า เพลี้ยไก่ฟ้า
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เป็นแมลงศัตรูพืชในทุเรียนอีกชนิดหนึ่งที่สามารถทำความเสียหายให้กับทุเรียนได้อย่างมากพบการระบาดได้ในแปลงปลูกทุเรียนทั่วไป

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต เมื่อระบาดมากๆ ทำให้
ใบหงิกงอ

ถ้าเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนเข้าทำลายในช่วงที่ใบอ่อนยังเล็กมากและยังไม่คลี่ออกจะทำให้ใบแห้งและร่วง

ตัวอ่อนของเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนจะขับสารเหนียวสีขาวออกมาปกคลุมใบทุเรียน เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารชนิดนี้ถูกขับออกมา

ระยะตัวอ่อนทำความเสียหายมากที่สุด นอกจากนี้ ได้รายงานว่าแมลงชนิดนี้ทำความเสียหายให้กับทุเรียนพันธุ์ชะนีมากที่สุด

การติดตามเพื่อป้องกันการระบานของเพลี้ยไก่แจ้

  • หมั่นสำรวจแปลงทุเรียน โดยสุ่มต้นเป็นจำนวนอย่างน้อย 10% ของต้นทั้งหมด ทุก 7 วัน
  • ตรวจนับ 5 ยอดต่อต้น ทั้งเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนและศัตรูธรรมชาติ
  • พบเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน มากกว่า 5 ตัวต่อยอด ถือว่ายอดถูกทำาลาย
  • ประเมินประสิทธิภาพของศัตรูธรรมชาติในการควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน และปริมาณของยอดที่
    ถูกเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนทำาลาย

การป้องกันกำจัด

  1. เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนจะทำลายเฉพาะใบอ่อนทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ และโดยปกติทุเรียนแตกใบอ่อน
    ไม่พร้อมกัน แม้แต่ทุเรียนในสวนเดียวกัน ชาวสวนทุเรียนควรจะพ่นสารฆ่าแมลงเมื่อทุเรียนส่วนใหญ่แตกใบอ่อนสำหรับต้นที่แตกใบอ่อนไม่พร้อมต้นอื่นควรพ่นเฉพาะต้น

    วิธีนี้ช่วยลดการใช้สารฆ่าแมลงและเปิดโอกาสให้ศัตรูธรรมชาติได้มีบทบาทในการควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน และยังเป็นการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้อีกด้วย
  2. วิธีบังคับให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมกัน ซึ่งอาจกระตุ้นด้วยการพ่นยูเรีย (46 – 0 – 0) 200 กรัม
    ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อลดช่วงการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
    จะช่วยลดการใช้สารเคมีลงได้มาก โดยปกติทุเรียนต้องการใบอ่อนที่สมบูรณ์ 2 – 3 ชุดต่อปี เพี่อให้ต้นทุเรียนพร้อมที่จะให้ผลผลิตที่ดี
  3. สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเมื่อเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนระบาดมาก คือ

    –>> แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน (lambda-cyhalothrin) 2.5% EC อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
    –>> อิมิดาโคลพริด (imidacloprid)70% WG อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
    –>> ไทอะมีทอกแซม (thiamethoxam) 25% WG อัตรา 8 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
    –>> ไดโนทีฟูแรน (dinotefuran) 10% WP อัตรา 15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
    –>> ไทอะมีทอกแซม/แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน (thiamethoxam/lambda-cyhalothrin) 14.1%/10.6% ZCอัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
    –>> คาร์บาริล (carbaryl) 85% WP อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

โดยให้ฉีดพ่นทุก 7 – 10 วันในช่วงระยะแตกใบอ่อน

หนอนเจาะผลทุเรียน (yellow peach moth)

หนอนเจาะผล(yellow peach moth) ชื่อพื้นเมือง : หนอนเจาะผลละหุ่ง

หนอนเจาะผลเป็นศัตรูทุเรียนที่สำคัญพบระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกทุเรียนทั่วประเทศ หนอนเจาะผล
จะเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลยังเล็ก อายุประมาณ 2 เดือนไปจนถึงผลใหญ่ทำให้ผลเป็นแผล

อาจเป็นผลให้ผลเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ การที่ผลมีรอยแมลงทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล ทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเมื่อผลสุก ภายนอกผลทุเรียนจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจน

และจะมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่ ผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันหนอนจะเข้าทำลายมากกว่าผล
ที่อยู่เดี่ยวๆ เพราะแม่ผีเสื้อชอบวางไข่ในบริเวณรอยสัมผัสนี้

การติดตามการะบาดหนอนเจาะผลทุเรียน

  • สำรวจ 10% ของต้นทั้งหมด ทุก 7 วัน
  • ตรวจนับ 5 ผลต่อต้น ทั้งหนอนเจาะผลและศัตรูธรรมชาติ
  • ประเมินประสิทธิภาพของศัตรูธรรมชาติในการควบคุมหนอนเจาะผล และปริมาณของผลที่ถูกหนอนเจาะผลทำาลาย

การป้องกันกำจัด

  1. หมั่นตรวจดูตามผลทุเรียน เมื่อพบรอยทำาลายของหนอน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำาลาย
  2. ผลทุเรียนที่เน่าและร่วงเพราะถูกหนอนทำาลายควรเก็บทำาลายโดยเผาไฟหรือฝังเสีย
  3. ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำานวนมากเกินไป โดยเฉพาะผลที่อยู่ติดกันควรใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวคั่น
    ระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย
  4. การห่อผลด้วยถุงมุ้งไนล่อน ถุงรีเมย์ หรือถุงพลาสติกสีขาวขุ่น เจาะรูที่บริเวณขอบล่างเพื่อให้หยดน้ำ
    ระบายออก โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์เป็นต้นไปจะช่วยลดความเสียหายได้
  5. สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเมื่อจำเป็นต้องใช้ คือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน (lambda-cyhalothrin)
    5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) 40% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร
    ต่อน้ำ 20 ลิตร

    พ่นเฉพาะส่วนผลทุเรียนที่การทำาลายของหนอนเจาะผล
เพลี้ยแป้ง (mealybugs )

เพลี้ยแป้ง (mealybugs )

เพลี้ยแป้งเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญพบระบาดทำความเสียหายต่อทุเรียนในแหล่งปลูกทั่วไปดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ โดยมีมดช่วยคาบพาไปตามส่วนต่างๆ ของพืช ส่วนที่ถูกทำลายจะแคระแกร็น และชะงักการเจริญเติบโต

นอกจากนี้เพลี้ยแป้งจะขับมูลหวาน (honeydew) ออกมาเป็นเหตุให้ราดำเข้าทำลายซ้ำ เพลี้ยแป้งเข้าทำลายทุเรียนผลเล็ก ทำให้ผลแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโตต่อไป

ถ้าเป็นทุเรียนผลใหญ่ ไม่มีผลทำให้เนื้อของทุเรียนเสียหาย แต่ทำให้คุณภาพของผลทุเรียนเสียไป ราคาต่ำ
และเป็นที่รังเกียจของผู้บริโภค

การป้องกันกำจัด

  1. หากพบเพลี้ยแป้งระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนของพืชที่พบการระบาดนำไปเผาทำลาย
  2. เมื่อพบเพลี้ยแป้งปริมาณน้อยบนผลทุเรียนใช้น้ำพ่นให้เพลี้ยแป้งหลุดไป หรือการใช้น้ำผสม white oilอัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยในการกำจัดเพลี้ยแป้งได้ดี
  3. เนื่องจากเพลี้ยแป้งแพร่ระบาดโดยมีมดพาไป การป้องกันโดยใช้ผ้าชุบสารฆ่าแมลง เช่น มาลาไทออน(malathion) 83% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล (carbaryl) 85% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พันไว้ตามกิ่งสามารถป้องกันไม่ให้มดคาบเพลี้ยแป้งไปยังส่วนต่างๆ ของทุเรียน หรือการพ่นสารฆ่าแมลงไปที่โคนต้นจะช่วยป้องกันมดและลดการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งได้มาก
  4. สารฆ่าแมลงที่ได้ผลในการควบคุมเพลี้ยแป้งคือ สารคลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) 40% EC อัตรา30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos)/ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) 50% / 5% ECอัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นสารเฉพาะต้นที่พบเพลี้ยแป้งทำลาย
เพลี้ยไฟพริก (chili thrips)

เพลี้ยไฟพริก (chili thrips)
ในทุเรียนพบเพลี้ยไฟหลายชนิดทำลายทุเรียนในระยะพัฒนาการต่างๆ แต่ที่พบมากและสำคัญที่สุดคือ
เพลี้ยไฟพริกระบาดทำลายในช่วงผลอ่อนและใบอ่อน รองลงมาคือ
เพลี้ยไฟดอกไม้ฮาวายระบาดในช่วงดอกบาน

ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช มีผลทำให้ใบอ่อนหรือยอดอ่อน ชะงักการเจริญ
เติบโต แคระแกร็น ใบโค้ง แห้ง หงิกงอ และไหม้

การทำลายในช่วงดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกและก้านดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แคระแกร็น และร่วงได้

ในช่วงผลอ่อน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต หนามเป็นแผลและเกิดอาการปลายหนามแห้ง ผลไม่สมบูรณ์และแคระแกร็น

เนื่องจากทุเรียนมีปริมาณดอกมากโดยเฉลี่ยสูงถึงต้นละประมาณ20,000 ดอก ทำให้เพลี้ยไฟสามารถเพิ่มปริมาณได้มากในช่วงดอกบาน เกษตรกรบางส่วนพยายามรักษาดอกทุเรียนทั้งหมดไว้จึงมีการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชค่อนข้างมากและเกินความจำเป็น ทั้งที่ควรให้มีจำนวนผลทุเรียนอยู่บนต้นที่เหมาะสมประมาณ 50 – 150 ผลต่อต้น

สำหรับในช่วงพัฒนาการของใบ ต้นทุเรียนแต่ละต้นมีความสมบูรณ์ไม่เท่าเทียมกัน จึงมีการแตกใบอ่อนไม่พร้อมเพรียงกัน และเมื่อมีการแตกใบอ่อนชุดใหม่จะดึงดูดให้เพลี้ยไฟเข้ามาทำลาย

ทำให้เพลี้ยไฟระบาดอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรต้องทำการป้องกันกำจัดด้วยสารฆ่าแมลงซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตเพลี้ยไฟจะระบาดรุนแรงในช่วงแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคม – พฤษภาคม ซึ่งตรงกับระยะที่ต้นทุเรียนออกดอกติดผล เพลี้ยไฟมีอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถเพิ่มปริมาณได้มากเนื่องมาจากดอกทุเรียนเป็นแหล่งอาหารและแหล่งขยายพันธุ์ที่ดีของเพลี้ยไฟ รวมทั้งต้นทุเรียนมีปริมาณดอกมาก ประกอบด้วยเพลี้ยไฟมีวงจรชีวิตที่ค่อนข้างสั้น

การป้องกันกำจัด

  1. หากพบเพลี้ยไฟระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำาลายทิ้ง
  2. เมื่อพบเพลี้ยไฟระบาดรุนแรง ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำาจัดเพลี้ยไฟ ได้แก่
    อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) 10% SL อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อนำ้า 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล (fipronil) 5% SCอัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อนำ้า 20 ลิตร และไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะทำให้เพลี้ยไฟสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง และอาจเกิดแมลงศัตรูชนิดอื่นระบาดขึ้นมาได้
มอดเจาะลำต้น (shot hole borer)

มอดเจาะลำต้น (shot hole borer)
มอดเจาะลำต้นเป็นแมลงศัตรูทุเรียนพบระบาดในแหล่งปลูกทุเรียนบางพื้นที่ ตัวหนอนและตัวเต็มวัย
เจาะเข้าไปกินในลำต้นและกิ่งของทุเรียน ส่วนมากพบทำลายบริเวณโคนต้น และกิ่งขนาดใหญ่ ต้นทุเรียนที่ถูก
แมลงชนิดนี้ทำลายสังเกตได้ง่ายคือมีรูพรุนตามโคนต้น และที่ปากรูมีมูลของหนอนลักษณะเป็นขุยละเอียดอยู่
ทั่วไป มอดเจาะเข้าไปกินในลำต้นหรือกิ่งลึกตั้งแต่ 2 – 3 เซนติเมตรขึ้นไป หากเป็นทุเรียนต้นเล็กทำให้ต้นตายได้
สำหรับทุเรียนต้นใหญ่ถ้าถูกทำลายน้อยจะไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่รอยเจาะของมอดเป็นทางให้เชื้อของโรค
รากเน่า-โคนเน่าเข้าทำลายและทำให้ทุเรียนตายได้ โดยทั่วไปมักพบมอดเจาะลำต้นระบาดร่วมกับโรครากเน่า-โคนเน่าในบางครั้งจึงสามารถใช้ร่องรอยการทำาลายของมอดในการหาแผลเน่าที่อยู่ภายใต้เปลือกไม้ได้

การป้องกันกำจัด

  1. หมั่นตรวจดูตามลำต้นทุเรียน ถ้าพบกิ่งแห้งที่ถูกมอดทำลาย ควรตัดและเผาทำลายเสีย อย่าปล่อย
    ทิ้งไว้ให้มอดขยายปริมาณและการทำาลายออกไปยังต้นอื่นๆ
  2. สำหรับส่วนที่ไม่สามารถตัดทิ้งได้ เช่น ในส่วนของลำต้น หรือกิ่งใหญ่ อาจจำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลง
    เช่น คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) 40% EC อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นบนลำต้น หรือกิ่งที่มี
    รูมอดเจาะ
ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน (durian stem borer)

ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน (durian stem borer)
ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน (Batocera rufomaculata De Geer) เป็นด้วงหนวดยาวทำลาย
ทุเรียนที่พบมาก การระบาดของแมลงศัตรูชนิดนี้ เกิดขึ้นและค่อยๆ สะสมความรุนแรงแบบภัยมืด โดยชาวสวนไม่ทราบว่ามีการระบาด เนื่องจากเป็นแมลงที่มีพฤติกรรมต่างๆเกิดขึ้นในช่วงกลางคืน

โดยด้วงชนิดนี้พบระบาดทำความเสียหายต่อทุเรียนอย่างรุนแรงในพื้นที่ปลูกทุเรียนแทบทุกภาคของประเทศ การทำลายในทุเรียน ส่วนใหญ่พบทำลายทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ตัวเต็มวัยกัดเปลือกไม้เป็นแผลเล็กๆ ตามลำต้นจากโคนถึงยอดรวมทั้งกิ่งที่มีขนาดใหญ่

จากการสำารวจและติดตามพฤติกรรมการวางไข่ ซึ่งเป็นแมลงกลางคืน พบว่า ในช่วงเวลา 19.00 – 06.00 น. ตัวเมียแต่ละตัวจะเดินขึ้นเดินลงจากโคนไปยอดต้นทุเรียน ใช้เขี้ยวกัดเปลือกไม้เพื่อหาจุดวางไข่ที่เหมาะสมและวางไข่เฉลี่ยประมาณ 15 ฟองต่อคืน

ในสวนที่มีการระบาดรุนแรงจึงพบหนอนด้วงหนวดยาวระยะต่างๆ ในต้นทุเรียนเป็นจำนวนมาก เฉลี่ย 40 – 50 ตัวต่อต้นตัวหนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ๆ จะกัดกินไชชอนไปตามเปลือกไม้ด้านใน หรืออาจกัดควั่นเปลือกรอบต้น ขณะหนอนยังเล็กอยู่

สังเกตแทบไม่พบรอยทำลาย แต่เมื่อหนอนโตขึ้นจะพบขุยไม้ละเอียดซึ่งเป็นมูลของหนอนบริเวณใกล้ๆ รอยทำลาย หรือตรงบริเวณที่หนอนทำลายกัดกินเนื้อไม้อยู่ภายในจะเห็นมีน้ำเป็นสีน้ำตาลแดงไหลเยิ้มอยู่

ในระยะต่อมาจึงจะพบมูลหนอนออกมากองเป็นกระจุกอยู่ข้างนอกเปลือก เมื่อใช้มีดแหลมแกะเปลือกไม้ จะพบ
หนอนอยู่ภายใน

เกษตรกรจะสังเกตพบรอยทำลายต่อเมื่อหนอนตัวโตและอาจเจาะเข้าเนื้อไม้ หรือกินควั่นรอบต้นทุเรียนแล้วซึ่งจะมีผลทำให้ท่อน้ำท่ออาหารถูกตัดทำาลายเป็นเหตุให้ทุเรียนเริ่มทรุดโทรม ใบเหลืองและร่วง และยืนต้นตายได้

หนอนแต่ละตัวสามารถกัดกินเปลือกไม้ได้เป็นทางยาวมากกว่า 1 เมตร เนื่องจากตัวเต็มวัยมีอายุขัยยาวนาน ช่วงเวลาการวางไข่จึงมีระยะเวลายาว ในต้นหนึ่งๆ จึงพบไข่และหนอนระยะต่างๆ กันเป็นจำนวนมาก

การป้องกันการระบาดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน

สำรวจต้นทุเรียนว่ามีอาการทรุดโทรม ใบเหลือง และร่วง โดยสังเกตดูรอยขุยไม้ หรือรอยช้ำเป็นน้ำสีน้ำตาลแดงไหลเยิ้มที่บนลำต้นหรือกิ่ง และใช้มีดปลายแหลมแกะเปลือกไม้ดู หรือสังเกตรอยเศษขี้ไม้ที่ติดอยู่บน
คบไม้และบนพื้นดินบริเวณโคนต้น

การป้องกันกำจัด

  1. กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ โดยตัดต้นทุเรียนที่ถูกทำลายรุนแรงจนไม่สามารถให้ผลผลิตเผาทิ้ง และควรมีการดูแลรักษาต้นทุเรียน ให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรงอยู่เสมอ
  2. กำจัดตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาว โดยใช้ไฟส่องจับตัวเต็มวัยตามต้นทุเรียนในช่วงเวลา 20.00 น. ถึงช่วงเช้ามืด หรือใช้ตาข่ายดักปลาตาชนิดถี่พันรอบต้นหลายๆ รอบ เพื่อดักตัวด้วง
  3. หมั่นตรวจสวนเป็นประจำา โดยสังเกตรอยแผล ซึ่งเป็นแผลเล็กและชื้นที่ตัวเต็มวัยทำขึ้นเพื่อการวางไข่ ถ้าพบให้ทำลายไข่ทิ้ง หรือ ถ้าพบขุยและการทำลายที่เปลือกไม้ให้ใช้มีดแกะ และจับตัวหนอนทำลาย
  4. ถ้าระบาดไม่รุนแรง และหนอนเจาะเข้าเนื้อไม้แล้ว ให้ใช้มีดแกะหารู ฉีดสารคลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) 40% EC อัตรา 1 มิลลิลิตร เข้าในรูแล้วใช้ดินเหนียวอุด
  5. แหล่งที่มีการระบาดรุนแรงควรป้องกันการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน โดยพ่นสารฆ่าแมลง ไทอะมีทอกแซม/แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน (thiamethoxam/lambda-cyhalothrin) 14.1%/10.6%ZC อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อนำ้า 20 ลิตร หรือ โคลไทอะนิดิน (clothianidin) 16% SG อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) 10% SL อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซีทามิพริด(acetamiprid) 20% SP อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วบริเวณต้นและกิ่งขนาดใหญ
เพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียน (armored scale)

เพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียน (armored scale)
เพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียนเป็นแมลงศัตรูที่พบระบาดทำความเสียหายต่อทุเรียนในแหล่งปลูกทั่วไป ดูดกิน
น้ำเลี้ยงจากบริเวณใบ กิ่ง ตา และขั้วผล เมื่อมีการระบาดรุนแรงจะทำให้ส่วนต่างๆ ของพืช เหลืองหรือแห้งตาย

การระบาดของเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียน มักมีการระบาดเป็นกลุ่มๆ เนื่องจากแมลงชนิดนี้สามารถเคลื่อนที่ได้เฉพาะ
ระยะตัวอ่อนวัยที่ 1 (crawler) เท่านั้น เมื่อมีการลอกคราบเพื่อเจริญเติบโตไปสู่วัยต่างๆ โดยคราบเก่าของ
วัยที่ 1, 2 และ 3 จะอยู่ด้านข้างของแผ่นปกคลุมลำตัวซึ่งจะขยายขนาดใหญ่ออกเรื่อยๆ ตามระยะการเจริญเติบโต
ของเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียน

ดังนั้นเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียนจะปกคลุมทั่วทั้งใบ กิ่ง ตา และขั้วผล ทำให้พืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้

การป้องกันกำจัด

  1. หากพบเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียนระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายเผาทิ้ง
  2. เมื่อพบเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียนปริมาณน้อยบนใบใช้น้ำผสม white oil อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ20 ลิตร พ่นให้ทั่วช่วยในการกำจัดเพลี้ยหอยเกล็ดได้ดี
  3. สารฆ่าแมลงที่ได้ผลในการควบคุมเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียน คือ
    สารคลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos)40% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
    คลอร์ไพริฟอส/ไซเพอร์เมทริน(chlorpyrifos/cypermethrin)50% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นสารเฉพาะต้นที่พบเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียนเข้าทำลาย
ไรแดงแอฟริกัน (African red mite)

ไรแดงแอฟริกัน (African red mite)
ไรแดงแอฟริกันเป็นศัตรูที่สำคัญชนิดหนึ่งของทุเรียนดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่บริเวณหน้าใบพบระบาดความเสียหายแก่ทุเรียนอย่างรุนแรงเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สภาพอากาศมีความแห้งแล้ง และลมแรง

ใบทุเรียนที่ถูกไรทำลายมีลักษณะเป็นจุดประสีขาว ที่หน้าใบมีคราบไรคล้ายผงหรือฝุ่นละอองสีขาวเกาะอยู่ สีของใบจะซีดไม่เขียวเป็นมันเหมือนใบปกติ ถ้าการทำลายเป็นไปอย่างรุนแรงและต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจมีผลทำให้ทุเรียนใบร่วง การเจริญเติบโตหยุดชะงัก

และมีผลกระทบต่อการติดดอกและผลของทุเรียนได้การแพร่กระจายของไรชนิดนี้ นอกจากเกิดขึ้นได้โดยลม ติดไปกับแข้งขาของแมลงหรือนกที่มาเกาะแล้ว ยังอาจติดไปกับต้นหรือกิ่งพันธุ์ที่มีผู้นำไปปลูกด้วย

ไรชนิดนี้จะระบาดทำความเสียหายอย่างรุนแรงแก่ทุเรียน ในช่วงที่สภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้งและลมแรง ประมาณเดือนพฤศจิกายน – มกราคม

และพบว่าอุณหภูมิไม่มีส่วนช่วยให้ปริมาณประชากรของไรเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด แต่ปริมาณน้ำฝนที่สูงสามารถทำให้ปริมาณประชากรของไรลดลงได้

การป้องกันกำจัด

  1. หมั่นตรวจดูใบทุเรียน โดยใช้แว่นขยาย กำาลังขยาย 10 เท่า ส่องดูใบเพสลาดและใบแก่ด้านหน้าใบในช่วงเดือนตุลาคม – มกราคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีลมพัดแรง และฝนทิ้งช่วง
  2. เมื่อพบการระบาดให้ใช้สารกำจัดไรพ่น สารกำจัดไรที่ใช้ได้ผลในการป้องกันกำจัดไรแดงแอฟริกันในทุเรียน ได้แก่

    –>>โพรพาร์ไกต์ (propargite) 30% WP อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

    –>> อะมิทราซ (amitraz)20% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

    การใช้สารกำจัดไรไม่ควรพ่นสารชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานานควรใช้สลับชนิดกัน เพื่อป้องกันไรสร้างความต้านทานต่อสารกำาจัดไร และใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น

โรคที่สำคัญในทุเรียน

โรครากเน่าและโคนเน่า

โรครากเน่าและโคนเน่า
เกิดจากเชื้อราเจริญเติบโตเข้าไปทําลายทุเรียนทั้งที่โคนต้นลําต้น กิ่งและราก

อาการต้นทุเรียนที่เป็นโรคนี้จะมีใบด้าน ไม่เป็นมัน และสีจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่น ต้นที่เป็นโรค
จะแสดงอาการเน่าและใบเหี่ยว แผลที่ต้นหรือกิ่งจะเน่าเป็นจุดฉํ่านํ้าเปลือกจะเน่าเป็นสีนํ้าตาลและมีเมือกไหลออกมา

ซึ่งจะสังเกตได้ในเวลาเช้าหรือช่วงที่มีอากาศชื้น เมื่อถากเปลือกออกจะเห็นเปลือกด้านในมีสีนํ้าตาลแดงหรือนํ้าตาลเข้มและถ้าขุดดูรากจะพบว่าที่รากแก้วและรากฝอยถูกทําลายเน่าเป็นสีนํ้าตาล ทําให้ต้นทุเรียนทรุดโทรมและตายในที่สุด

การป้องกันกําจัด

  1. ตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเก็บส่วนที่เป็นโรคนําไปเผา
    ทําลาย
  2. อย่าให้นํ้าขังแฉะบริเวณโคนต้น
  3. ถากบริเวณที่เป็นโรคออกเพียงบาง ๆ แล้วใช้สารเคมีจําพวกเมททาแลคซิลหรือฟอสเอทธิลอะ
    ลูมินั่มผสมนํ้าทาบริเวณที่ถากออก
โรคใบติด (Rhizoctonia leaf blight)

โรคใบติด ใบไหม้ ใบจุด ในทุเรียนที่เกิดจากเชื้อรา

โรคใบติดทุเรียน เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani โรคนี้จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน ที่มีสภาพทั้งแดดและฝนเอื้อให้เชื้อราก่อโรคเจริญ ลักษณะอาการบนใบที่พบจะมีรอยคล้าย ๆ ถูกนํ้าร้อนลวก ขอบแผลไม่แน่นอนอาจเริ่มที่ปลายใบ กลางใบ หรือโคนใบ แล้วลุกลามจนเป็นทั้งใบ และจะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวนวลแผ่ปกคลุมคล้ายใยแมงมุมแผ่ไปตามผิวใบใบที่ถูกทําลายจะร่วงหล่นไปในที่สุด

ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงเหลือแต่กิ่งและกิ่งแห้งในที่สุด

ถ้าใบที่เป็นโรคไปสัมผัสกับใบที่ปกติไม่ว่าจะเป็นใบที่อยู่ล่าง ๆ หรือใบที่อยู่เหนือกว่า ใบปกตินั้นก็จะเป็นโรคใบติดได้เช่นกัน

การป้องกันและกำจัดโรคใบติดทุเรียน

1.ลดความชื้นสะสม โดยกำจัดวัชพืชในสวน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี
.
2.สวนทุเรียนที่มีความชื้นสูงมักพบการระบาดของโรคเป็นประจำ ลดใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบ
.
3.กำจัดส่วนที่เป็นโรคตัดและเก็บส่วนร่วงหล่นตามพื้นเอาไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก
.
4.พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช
.
รายชื่อสารเคมีป้องกันโรคใบติดในทุเรียน (ที่แนะนำโดยกรมวิชาการเกษตร)

-คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
.
-คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
.
-คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 65.2% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
.
-คิวปรัสออกไซด์ 86.2% WG อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
.
-คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ + คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 24.6% (14% copper metal) +22.9(14% copper metal) WG อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
.
-เฮกซะโคนาโซล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
.
-เพนทิโอไพแรด 20% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
.
-ฟลูไตรอะฟอล 12.5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
.
-ทีบูโคนาโซล + ไตรฟลอกซีสโตรบิน 50% + 25% WG อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
.
-โทลโคลฟอส-เมทิล 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
.

ทุก 7 วัน โดยพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้น

5.ช่วงการตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้ทุเรียนได้รับแสงแดดเข้าถึงในทรงพุ่ม และช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี ช่วยการลดความชื้น เป็นการสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค

วิธีการฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อราโรคใบติดทุเรียน : ให้ฉีดจากในต้นออกมาข้างนอกบริเรณที่เป็นโรคแค่นั้น. เพระเชื้อราจะอยู่ใต้ใบ

โรคราสีชมพู (Pink Disease)

โรคราสีชมพู

โรคราสีชมพูในทุเรียน

มักจะพบการระบาดในช่วงหน้าฝน หรือช่วงที่มีฝนตกชุกที่สภาพอากาศมีความชื้นสูงเกิดจาก เชื้อรา Corticium salmonicolor เข้าทําลายกิ่งโดยเฉพาะบริเวณง่ามกิ่งซึ่งมีผลทําให้ใบมีสีเหลืองร่วงหล่นไปคล้ายกับอาการกิ่งแห้งและใบร่วงที่เกิดจากโรคโคนเน่าแต่จะสังเกตเห็นเส้นใยของเชื้อรามีลักษณะเป็นขุยสีชมพูปกคลุมบริเวณโคนกิ่งที่มีใบแห้งนั้น

และทําให้เปลือกของกิ่งทุเรียนปริแตก และล่อนจากเนื้อไม้เมื่อถากเปลือกจะพบว่าเนื้อไม้ภายในมีสีนํ้าตาล ถ้าเกิดรอบกิ่งจะทําให้กิ่งทุเรียนแห้งตายในที่สุด

อาการเริ่มแรกของราสีชมพูจะสังเกตุเห็นใบเหมือนถูกน้ำร้อนลวกเป็นจุดๆก่อนที่จะขยายเป็นวงกว้างแล้วลามไปตามกิ่งจนเห็นเป็นละอองขาวๆปนชมพูใต้ท้องกิ่ง

อาการ โรคราสีชมพูในทุเรียน

การแพร่กระจายของเชื้อรา

เนื่องจากโรคนี้จะระบาดในช่วงหน้าฝนหรือในสภาพที่ฝนตกชุก เชื้อราจะตามน้ำฝนที่ตกลงมาจะสังเกตุเห็นว่าถ้ากิ่งบนยอดเป็นแล้วกิ่งในแนวดิ่งที่ต่ำลงมาก็เป็นตามลงมาจนถึงกิ่งล่างสุด

การป้องกันกําจัด

  1. ต้องรีบ ตัดกิ่งที่พบอาการ ทิ้งและเผาทำลายไม่ให้เชื้อขยายลุกลามออกไป และตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้โปร่งเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
    .
  2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมีจําพวกคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์

คำแนะนำ : ไม่ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มเดียวต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรใช้สลับกลุ่มสาร เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรค

โรคราแป้ง (Powdery Mildew)

โรคราแป้ง
เกิดจาก เชื้อรา เชื้อรา Oidium sp. เข้าทําลายผลทุเรียนตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่ ผิวที่ผลอ่อนจะมีผงสีขาวๆ คล้ายโรยด้วยแป้ง และผลอ่อนก็จะร่วงไปแต่ถ้าเชื้อโรคเข้าทําลาย เมื่อผลโตแล้วจะทําให้ผลแก่ มีสีผิวที่ผิดปกติ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

โรคราแป้งในทุเรียน


การป้องกันกําจัด

  1. นําผลทุเรียนที่ร่วงหล่นไปเผาทําลาย
    .
  2. ฉีดพ่นด้วยกํามะถันผงละลายนํ้า ในขณะที่ทุเรียนเริ่มติดผล หรือ ไพราโซฟอส 29.4% W/VEC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เบโนมิล
โรคใบจุดสนิมทุเรียน หรือ ใบจุดสาหร่าย (Durian algal leaf spot)

โรคใบจุดสนิม ทุเรียน (Durian algal leaf spot)
เกิดจาก พืชชั้นตํ่าพวกสาหร่ายสีเขียว Cephaleuros virescens Kunze. ทําความเสียหายให้กับทุเรียนโดยดูดอาหารจากใบ ทําให้ต้นทรุดโทรม อาการของโรคจะพบทั้งที่ใบและกิ่งที่ใบจะปรากฏเป็นจุดหรือดวงสีเทาอ่อนปนเขียว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลคล้ายสนิมมีลักษณะเป็นขุยคล้ายกํามะหยี่ ส่วนการทําลายที่กิ่งนั้นจะทําให้เปลือกหนาซึ่งนานเข้าจะทําให้เปลือกแตก กิ่งแห้งและทรุดโทรมในเวลาต่อมา

โรคใบจุดสนิมทุเรียน หรือ โรคใบจุดสาหร่าย

การป้องกันกําจัด

  1. ตัดกิ่งที่เป็นโรคเผาทําลายทิ้งเสีย
    .
  2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมีจําพวกคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์
โรคผลเน่า

โรคผลเน่า
เกิดจาก เชื้อรา Phytophthora palmivora เข้าทําลายผลทุเรียน ตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่ ผิวที่ผลอ่อนจะมีผงสีขาว ๆ คล้ายโรยด้วยแป้ง และผลอ่อนก็จะร่วงไป แต่ถ้าเชื้อโรคเข้าทําลายเมื่อผลโตแล้วจะทําให้ผลแก่มีสีผิวที่ผิดปกติไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

โรคผลเน่า  ในทุเรียนทีเกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า

การป้องกันกําจัด

  1. นําผลทุเรียนที่ร่วงหล่นไปเผาทําลาย
    .
  2. ฉีดพ่นด้วยกํามะถันผงละลายนํ้า ในขณะที่ทุเรียนเริ่มติดผล
    .
  3. การป้องกันด้วยใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อรา Trichoderma asperellum หรือเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis
    .
  4. การพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา Phytophthora palmivora เช่น fosetyl aluminum, bordeaux mixture, copper oxychloride, dimethomorph, pyraclostrobin และ myclobutanil + kresoxim methyl เป็นต้น

FAQs คำถามเกี่ยวโรคสำคัญในทุเรียน

วิธีและทางเลือกในการกำจัดและป้องกัน โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน
  • การป้องกันใช้สารชีวภัณฑ์ (เป็นสารชีวภาพมีความปลอดภัยไม่เป็นพิษ) เช่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือ เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส ฉีดพ่นลงดินและทรงพุ่ม เดือนละ 1-2 ครั้ง
  • ในกรณีเป็นโรคแล้วแต่อาการไม่รุนแรง ใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichoderma หรือ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ฉีดพ่นลงดินและทรงพุ่ม 4-5 วันครั้ง ติดต่อกัน 4-5 ครั้ง และเมื่อการระบาดโรคลดลง ให้ฉีดพ่นเดือนละ 1 -2 ครั้งเพื่อควบคุมเชื้อราก่อโรคในดิน
  • ใช้สารเคมี : ในกรณีอาการของโรครุนแรงและมีการระบาดมากให้ใช้สารเคมี เช่น เมทาแลกซิล 25 wp (Metalaxyl) , ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม (fosetyl-aluminium) 80% WG , เทอร์ราคลอร์ ซุปเปอร์-เอ็กซ์ (Terraclor Super-X) ตัวนี้เป็น 2 in 1 คือประกอบด้วยยาฆ่าเชื้อราก่อโรค 2 ชนิด ได้แก่ ควินโตซีน (quintozene) + อีไตรไดอะโซล (etridiazole) กำจัดเชื้อราก่อโรคได้อย่างเฉียบพลัน ซื้อเทอร์ราคลอร์ ซุปเปอร์-เอ็กซ์ ราคาส่ง

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสารและยากำจัดเชื้อราที่ชาวสวนทุเรียนควรรู้

อาการที่บอกว่าทุเรียนเป็นโรครากเน่าโคนเน่า

ทุเรียนที่เริ่มเป็นโรครากเน่าโคนเน่าจะแสดงอาการดังนี้

  • ใบเหลือง ของใบไหม้ ต้นโทรม
  • ใบที่เหลืองจะค่อยร่วง
  • ยอดแห้ง
อาการทุเรียนรากเน่า
สารชีวภัณฑ์ (เช่น ไตรโคเดอร์มา) VS สารเคมี กำจัดโรครากเน่าโคนเน่าเลือกอะไรดี

ป้องกัน : ใช้ราไตรโคเดอร์มา หรือ แบคทีเรีย บาซิลลัส เหมาะสำหรับใช้เพื่อป้องกัน หรือ ใช้ในกรณีเกิดการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าไม่รุนแรง

เริ่มเป็น : อาการเพิ่มเริ่มต้น การระบาดไม่รุนแรง ใช้ เชื้อราไตรโคเดอรมา หรือแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทีลิส ฉีดพ่นลงดินทุกๆ 3-4 วันครั้งประมาณ 4 -5 ครั้งถ้าหยุดการระบาดของโรคได้แล้ว ใช้ไตรโคเดอร์มาทางดิน 1-2 เดือนครั้งจะช่วยควบคุมปริมาณเชื้อราก่อโรคในดิน

เป็นโรคแล้ว : อาการหนัก มีการระบาดรุนแรง ใช้สารเคมีเพื่อกำจัดเชื้อราก่อโรคแบบเฉียบพลัน 2-3 ครั้งเพื่อหยุดการระบาด หลังจากนั้นใช้ ไตรโคเดอร์มาทุก 15 วันครั้ง หรือ เดือนละ 1 ครั้งเพื่อควบคุมเชื้อก่อโรคในดินไม่ให้มีมากเกินไป จนก่อให้เกิดโรคได้

สารป้องโรครากเน่า กัญชา

การเก็บเกี่ยวผลผลิต