รายละเอียดเพิ่มเติม
ธาตุแมกนีเซียม
แมกนีเซียมเป็นธาตุอาหารพืชที่สามารถเคลื่อนที่ได้ (mobile element ) ธาตุแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ที่มีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช

ประโยชน์ของธาตุอาหารแมกนีเซียม
- เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์
- ช่วยเคลื่อนย้ายแป้งภายในพืช
- ช่วยสร้างไขมันและน้ำมันในพืช
- ช่วยกระตุ้นกระบวนการทำงานเมทาบอลิซึมของพืช
อาการพืชขาดธาตุแมกนีเซียม


พืชมีอาการเหลืองซีด เพราะมีปริมาณคลอโรฟิลล์ลดลงทำให้ความสามารถในการสังเคราะห์แสงลดลง สร้างพลังงาน ATP ได้น้อย ผลกระทบที่ตามมาคือ ขาดพลังงานในการเคลื่อนย้ายอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์แสงไปยังแหล่งรับ ทำให้เกิดการสะสมแป้งในใบแทน เช่นในกรณีของพืชหัว มันฝรั่งและธัญพืชจะทำให้ปริมาณแป้งในผลผลิตลดลง

อาการพืชได้รับธาตุแมกนีเซียมมากเกินไป
พืชที่ได้รับธาตุแมกนีเซียมมากเกินไป จะทำให้การดูดใช้โพแทสเซียมและแคลเซียมลดลง ถึงขั่นที่ทำให้พืชขาดธาตุโพแทสเซียมและแคลเซียมได้เลย
แหล่งธาตุแมกนีเซียม (Magnesium)ที่สำคัญของพืช
ได้แก่ปุ๋ยแมกนีเซียม เช่น แมกนีเซียมซัลเฟต หรือสารปรัปปรุงดินที่มีส่วนประกอบของธาตุแมกนีเซียม เช่น โดโลไมท์
วิธีเติมธาตุแมกนีเซียมให้ดินและพืช
แหล่งธาตุแมกนีเซียม (Mg) การให้แมกนีเซียมแก่พืชอย่างเพียงพอนอกจากจะทำให้พืชไม่ขาดธาตุแมกนีเซียมแล้ว ยังทำให้สัดส่วนของธาตุแคลเซียม(Ca)และธาตุแมกนีเซียม(Mg.)รวมถึงธาตุโพแทสเซียม (K) ในพืชเกิดสมดุลอีกด้วย
การเสริมธาตุแมกนีเซียมให้พืชทำได้ 2 วิธี
1.การใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมทางดิน เช่น แมกนีเซียมซัลเฟต การปรับความเป็นกรดด่างของดินให้มีความเป็นกลางโดยการใส่โดโลไมท์ หรือการใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของธาตุแมกนีเซียม
2.การฉีดพ่นแมกนีเซียมทางใบ ช่วยกระตุ้นให้พืชมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแมกนีเซียมในพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำถามที่พบบ่อย (Frequently Asked Questions)
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมของพืช
- ใบอ่อนและยอดเหลืองซีด ใบแก่เหลือง เส้นใบสีเขียว
วิธีแก้พืชขาดแมกนีเซียม
ใส่ปุ๋ยที่ส่วนประกอบของธาตุแมกนีเซียม เช่น ทางดินใส่ แมกนีเซียมซัลเฟต (ปุ๋ยกลีเซอร์ไรด์) หรือ ฉีดพ่นทางใบด้วย แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตาไฮเดรต (MgSO4.7H20)
ปุ๋ยแมกนีเซียม ทางใบ
- แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตาไฮเดรต (MgSO4.7H20) Magnesium Sulfate Heptahydrate ประกอบด้วย แมกนีเซียม(Mg) 9 % ,กำมะถัน (S)12% ละลายน้ำได้ 100%