สังกะสี (Zinc-Zn.)

หน้าที่สำคัญของธาตุสังกะสีในพืช

  • สังกะสีเป็นธาตุอาหารพืชที่สำคัญในระบบเอ็นไซต์ในขบวนการย่อยและเผาผลาญในพืช
  • ช่วยในการสร้างฮอร์โมนบางชนิดในพืช
  • ช่วยพัฒนาระบบสืบพันธ์ในพืช
  • สังกะสีเป็นธาตุที่จำเป็นในการสร้างคลอโรฟิลล์และสังเคราะห์แสง

 

หมวดหมู่:

รายละเอียดเพิ่มเติม

ธาตุสังกะสี ธาตุอาหารพืช

ธาตุสังกะสี Zn จัดอยู่ในกลุ่มของจุลธาตุ คือเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้เช่นกัน หากพืชได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะทำให้ระบบชีวเคมีเกิดขึ้นได้ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้พืชโตช้าไม่สมบูรณ์ ผลผลิตต่ำและคุณภาพไม่ดี เป็นโรคได้ง่าย ในกรณี พืชบางชนิดจะมีความไวต่อการขาดธาตุสังกะสีเช่น พืชไร่หลายชนิดทั้งข้าว ข้าวโพด ถั่ว ชา กาแฟ การขาดธาตุสังกะสีจะแสดงอาการรุนแรง ทำให้พืชแคระแกร็น เป็นโรคง่าย

ประโยชน์ของธาตุอาหารสังกะสี (Zinc)

ธาตุสังกะสีจึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับขบวนการทางชีวเคมีต่างๆ ของพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเป็นองค์ประกอบในการสร้างสารสำคัญ เช่นโปรตีน ฮอร์โมน และทำหน้าที่เป็นสารกระตุ้นระบบต่างๆภายในพืชให้เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ พืชที่ได้รับธาตุสังกะสีอย่างเพียงพอจะช่วยในเรื่องต่อไปนี้

-ช่วยให้พืชแตกใบอ่อนได้ดีขึ้น

– เสริมสร้างเมล็ด

– เสริมสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ ในพืช

– เสริมสร้างการสุกการแก่ของผลไม้

– เสริมสร้างความสูงและการยืดของต้น

– ช่วยในการสร้างโปรตีนสำคัญ

– สร้างให้พืชมีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ

– มีส่วนสำคัญในระบบของเอนไซม์ที่จะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช

– มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์(สีเขียว) ของพืช

– มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรตและกระตุ้นการใช้น้ำตาลในพืช

– ทำหน้าที่เสมือนตัวต่อต้านความหนาวเย็น หรือทำหน้าที่เสมือนเป็นผ้าห่มให้แก่ต้นพืชเมื่อมีอากาศหนาวเย็น

– ช่วยให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตเมื่อมีอากาศหนาวเย็น

อาการพืชขาดธาตุสังกะสี

ธาตุสังกะสีเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายถ่ายเทได้ เมื่อพืชขาด จะมีอาการแสดงให้เห็นจากส่วนปลายหรือยอดก่อนแล้วจึงเคลื่อนลงมาหาโคนพืช

– อาการขาดสังกะสี จะมีอาการเหมือนขาดแมกนีเซี่ยม คือ สีใบจะซีดจางลง โดยเริ่มจากขอบใบเข้ามาด้านใน (เส้นใบยังสีเขียวอยู่) ขนาดของใบจะเล็กลง (อาจมีรูปร่างผิดปกติ) แคระแกรน ใบจะงอกเป็นกระจุก ส่วนยอดหรือปลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือไม่ก็สีขาวซีด เช่นข้าวโพด จะแสดงอาการที่ส่วนยอดหรือปลาย คือจะทำให้มีสีขาวซีด ใบอ่อนจะม้วนกลมเป็นช่อไม่คลี่ออกเหมือนใบปกติ

– พืชที่พบอาการขากสังกะสีบ่อยๆ เช่น พืชตระกูลส้ม มะนาวต่างๆ จะแสดงอาการ ใบเรียวเล็ก เนื้อใบเหลืองด่าง และเส้นใบจะมีสีเขียว สลับกันเป็นลาย (ชาวบ้านจะเรียกว่าโรคใบแก้ว) ส่วนยอดหรือปลายแขนงที่แตกใหม่จะแห้ง ผลมีสีซีดจาง เปลือกหนาหรืออาจบางกว่าธรรมดา เนื้อในแกนฟ่ามแห้ง มีน้ำน้อย

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุสังกะสี

ความสำคัญของความรู้เรื่องปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลโดยตรงต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุสังกะสีในพืช จะช่วยให้การแก้ปัญหาพืชขาดสังกะสีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนี่ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้พืชขาดธาตุสังกะสี

– ในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) 4.0-5.0 และ 7.0 ขึ้นไป

– ในดินที่มีธาตุสังกะสีที่เป็นประโยชน์ต่ำหรือมีปริมาณน้อย

– ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสมาก

– ในดินที่มีธาตุไนโตรเจนมาก

– ในดินที่ถูกน้ำกัดเซาะมาก รวมทั้งดินที่มีการซึมลึกของน้ำมาก

– ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ

– ในดินที่มีการไถลึก 6 นิ้ว

– ในดินที่ใส่ปูนมากเกินไป

– ในดินที่สูญเสียธาตุสังกะสีมากหลังจากเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว

– ดินที่ขาดธาตุสังกะสี มักจะเป็นดินที่ถูกน้ำท่วม หรือดินที่มีน้ำขังอยู่เป็นเวลานานๆ

อาการพืชได้รับธาตุสังกะสีมากเกินไป

อาการสังกะสีเป็นพิษในพืชที่ไม่ทนทานต่อการได้รับธาตุสังกะสีที่มากเกิน สิ่งแรกที่พบในพืชที่มีอาการสังกะสีเป็นพิษคือ ระบบรากหยุดการพัฒนา หลังจากนั้นใบอ่อนจะแสดงอาการขาดธาตุเหล็ก มีใบซีดเหลือง ซึ่งเกิดจากอาการขาดธาตุเหล็กในสภาวะที่มีธาตุสังกะสีมากเกินไป

วิธีลดความเป็นพิษจากสังกะสี

ปลูกพืชที่ทนต่อพิษของสังกะสี และการใส่ปูนเพื่อเพิ่มค่า PHในดินเพราะค่าPh ดินมากกว่า 7 จะทำให้ปริมาณสังกะสีที่เป็นประโยชน์ลดลง

แหล่งธาตุสังกะสี (Zn.)ที่สำคัญของพืช

ธาตุสังกะสีในดินที่พืชนำมาใช้ได้ โดยตรงมีทั้งทีเป็นสารประกอบอนินทรีย์และอินทรีย์ เช่น ZnO, ZnEDTA และในรูป Zn-Oxysulfate

และในปัจจุบันที่นิยมใช้มากคือ ผงสังกะสีซัลเฟต ZnSO4 ละลายน้ำได้ดี ราคาถูก โดยนำมาละลายน้ำแล้วฉีดพ่นทางใบ (Foliar Fertilizing) หรือ ในปุ๋ย NPK + Zn เป็นการผสมธาตุสังกะสีกับปุ๋ยหลัก

วิธีเติมธาตุสังกะสีให้ดินและพืช

คือการให้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของธาตุสังกะสีอยู่ ซึ่งธาตุสังกะสีที่ใส่ในปุ๋ยมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

1.สารประกอบอนินทรีย์ รูปของ สังกะสีซัลเฟต ZnSO4 (ละลายในน้ำได้ดี) ประสิทธิภาพจึงดีกว่าสารอนินทรีย์ประกอบของสังกะสีในรูปอื่นๆ

2.สารประกอบอินทรีย์ ได้แก่ คีเลตสังเคราะห์ของธาตุสังกะสีต่างๆ เช่น Zn-EDTA , Zn- HEDTA ฯลฯ

การฉีดธาตุสังกะสีให้กับพืชโดยตรง จะให้ผลที่ดีกว่า การให้ธาตุสังกะสีทางดินเพียงอย่างเดียว เนื่องจากการให้ธาตุสังกะสีทางใบพืชนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว

ปัจจุบัน สารเคมีเพื่อการค้า จะมีส่วนผสมของธาตุสังกะสีด้วย ซึ่งอาจจะใช้เป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา และการแก้การขาดธาตุสังกะสีได้พร้อมกันด้วย