การใช้แมกนีเซียม

การฉีดแมกนีเซียมทางใบ มากเกินไป อาจเสียมากกว่าได้

การใช้แมกนีเซียม

การใช้แมกนีเซียม แก้ปัญหาใบเหลืองเพราะพืชขาดแมกนีเซียม (Mg) การฉีดพ่นทางใบคือวิธีการเฉพาะหน้าที่ได้ผลเร็ว

ทำให้เกษตรกรหลายคนเลือกฉีดพ่นแมกนีเซียมเดี่ยวๆ ผลที่ตามมาคือทำให้ใบเขียวขึ้น เป็นการเขียวเพราะคลอโรฟิลล์ จะมีลักษณะสีเขียวแบบเขียวสด ไม่ใช้เขียวเข้มแต่เราต้องการใบที่เขียวเข้มเพราะนั่นหมายถึงการสะสมอาหารอย่างสมบูรณ์ การเข้าใจว่าใบเขียวเพราะแมกนีเซียมอย่างเดียว ก็เลยฉีดแมกนีเซียมให้กับพืชอย่างหนัก

ผลลัพธ์ที่ได้คือ ใบเขียวเข้มจริงๆ แต่ใบจะเล็กแคระแกร็น ใบกรอบ กระด้าง ส่งให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย ทำให้พืชอ่อนแอ 

อาการแบบนี้เรียกว่าอาการแมกนีเซียมเป็นพิษ มากเกินจนเป็นพิษต่อพืช ผลจากแมกนีเซียมเป็นพิษคือ ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงลดลง เก็บอาหารได้ลดลง

การใช้แมกนีเซียม อย่างถูกวิธีคือ เมื่อพบอาการพืชขาดแมกนีเซียม ก็ฉีดพ่นแค่ให้พืชมีใบเขียวสดพอ

การใช้แมกนีเซียม
การฉีดพ่นแมกนีเซียมทางใบ

สั่งซื้อปุ๋ยแมกนีเซียมฉีดทางใบ

ส่วนการทำใบให้เขียวเข้มคือการสะสมอาหารเกิดจากการได้รับธาตุอาหารอย่างสมดุล โดยเฉพาะธาตุอาหารในกลุ่มเมทัล ซึ่งประกอบไปด้วย Fe(ธาตุเหล็ก) Mn(แมงกานิส)  Zn (สังกะสี) Cu(ทองแดง)  S (ซัลเฟอ)  Mg (แมกนีเซียม)  Mo (โมลิบดินั่ม) ซึ่งเป็นธาตุอาหารรองและเสริมสำหรับพืชนั่นเอง

การใช้แมกนีเซียม
ธาตุอาหารรองและเสริมที่จำเป็นต่อพืช