Site icon จำหน่ายปุ๋ย ยา สารชีวภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร แบรนด์เกษตรเลิฟ

ยา ราน้ำค้าง รวมยาแก้โรคราน้ำค้าง ทั้งอินทรีย์และสารเคมี

ยาแก้โรคราน้ำค้าง มีทั้งประเภทอินทรีย์และสารเคมีแต่ละประเภทก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป การเลือกใช้ยา ราน้ำค้าง ให้เหมาะกับสถานการณ์กับการระบาดของโรคราน้ำค้าง มีความสำคัญต่อการลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโรคราน้ำค้าง

ยาราน้ำค้าง ประเภทสารชีวภัณฑ์

ที่ได้จากการคัดเลือกเชื้อราหรือแบคทีเรียชนิดดี เป็นประโยชน์ต่อพืช มีความสามารถในการควบคุมเชื้อราก่อโรคในพืชชนิดต่างๆ ได้แก่

ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความสามารถในการเข้าควบคุม เชื้อราสาเหตุของโรคพืชชนิดต่างๆ เนื่องจากเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคได้อย่างกว้างขวาง รวมถึงเชื้อราก่อให้เกิด โรคราน้ำค้าง

วิธีใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์มา สำเร็จรูป

ใช้ Tricho-Z ไตรโคเดอร์มาชนิดผงสำเร็จ อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 5 วัน


เคล็ดลับเพื่อให้เชื้อไตรโคเดอร์มา ทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรฉีดพ่นช่วงเย็นหลีกเลี่ยงการฉีดพ่นช่วงแสงแดดจัด

ยา ป้องกัน แก้โรคราน้ำค้าง บาซิลลัส ซับทีลีส (Bacillus subtilis ) คือสารชีวภัณฑ์ทีผลิตจาก แบคทีเรีย บาซิลลัส เป็นแบคทีเรียที่ผ่านการคัดเลือกจากแบคที่เรียนหลายๆสายพันธุ์ มีความปลอดภัยกับผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเป็นแบคทีเรียทีพบทั่วๆไปในดิน วัสดุปลูก และพืช หรือแหล่งน้ำต่างๆ

วิธีใช้สารชีวภัณฑ์บาซิลลัส ซับทีลีส สำเร็จรูปชนิดผง

เชื้อบาซิลลัส ซับทีลีส ชนิดผงสำเร็จ อัตรา 100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5 วัน

ยาราน้ำค้าง ประเภทเคมี ยา แก้โรคราน้ำค้างที่เป็นสารเคมี

เช่น อาร์นิลีน มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อราก่อโรคพืช 2 ชนิด ได้แก่ (cymoxanil) 8% + แมนโคเซบ (mancozeb) 64% สามารถควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคราน้ำค้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นซ้ำทุกๆ 5 วันจำนวน 4 ครั้ง

ยาแก้ราน้ำค้าง แมนโคเซบ 80% wp เป็นสารในกลุ่ม dithiocarbamates แบบสัมผัส กลไกเข้าทำลายเชื้อราสาเหตุโรคหลายจุด มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการสร้างสปอร์ และการงอกของสปอร์เชื้อราก่อโรคราน้ำค้าง

เป็นสารกำจัดเชื้อรา แบคทีเรีย เชื้อสาเหตุก่อให้เกิดโรคพืช เช่น โรคราน้ำค้าง โรคแคงเกอร์ อยู่ในกลุ่มสารเคมี Inorgaic กลุ่ม M01 สารป้องกันกำจัดโรคพืช

อัตราการใช้ 30 กรัม /น้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุกๆ 5 วันจำนวน 4 ครั้ง

เมทาแลกซิล35%WP (metalaxyl) กลุ่มสารเคมี : Phenylamide : Acylalanine ประโยชน์ : เป็นสารป้องกันกำจัดประเภทดูดซึม เมื่อพ่นลงพืชแล้วพืชจะดูดซึมเข้าไปตามเนื้อเยื่อพืชนั้น และสามารถเคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่างๆ ของพืชได้ สามาถป้องกันกำจัดโรคต้นเน่า โรคเน่าเข้าไส้ โรครากเน่าโคนเน่า โรคราน้ำค้า

อัตราการใช้ 20-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตรเริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุกๆ 5 วันจำนวน 4 ครั้ง

ชื่อสามัญ : ไดเมโทมอร์ฟ (dimethomorph) 50% สารป้องกันกำจัดเชื้อรา ทำให้เชื้อราไม่สามารถเจริญเติบโตและตายในที่สุด ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากสารอื่นจึงทำให้มีประสิทธิภาพดีทั้งในด้านป้องกันและกำจัดเชื้อราที่ดื้อต่อสารชนิดอื่น เช่น เชื้อราสาเหตุโรคราน้ำค้างและไฟท็อปทอร่า

เป็นสารป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้าง (downy mildew) ในแตงร้านที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis (Bark. & Vurt.) Rost

อัตราการใช้กับ โรคราน้ำค้าง อัตราใช้ 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 7 วัน

เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดดูดซึม สามารถกำจัดเชื้อราก่อโรคพืชได้อย่างกว้างขวางเป็นยาเย็น ฉีดได้ทุกช่วงใช้ได้ในพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผลทั่วๆไป ฉีดได้ทุกช่วงของการเจริญเติบโต ยับยั้งเชื้อราได้ทุกระยะ ป้องกันและกำจัดโรคราน้ำค้างได้อย่างดีเยี่ยม

อัตรา 10-15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นอย่างน้อย 2 ครั้งห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน

เป็นการผสมกลุ่มของสารฆ่าเชื้อรา 2 กลุ่ม ได้แก่ Alkylanabis (dithiocarbamate) + phenylamide : acylalanine (กลุ่ม m3+4) เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืชประสิทธิภาพสูง กำจัดเชื้อราในกลุ่ม Oomycete เชื้อราก่อให้เกิดโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง ได้ดี จัดเป็นสารป้องกันและกำจัดโรคราน้ำค้างที่น่าใช้ตัวหนึ่ง

อัตราการใช้ 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วเมื่อเริ่มพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 7 วัน

ยารักษาโรคราน้ำค้าง ประเภทเคมีที่มีการทดลองที่ได้ผลดีที่สุดจากงานวิจัย คือ

การใช้สารเคมี ไซมอกซานิล (cymoxanil) 8% ผสมกับ แมนโคเซบ (mancozeb) 64% เช่น เคอร์เซท เอ็ม-8 , อาร์นิลีน โดยใช้อัตราส่วนสารทั้งสอง 30 กรัมต่อน้ำปริมาณ 20 ลิตร ฉีดทุกๆ 5 วัน หรือใช้เป็น โครโรทาโลนิล (chlorothalonil) 75% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำปริมาณ 20 ลิตร

Exit mobile version