Site icon จำหน่ายปุ๋ย ยา สารชีวภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร แบรนด์เกษตรเลิฟ

กัญชารากเน่า รู้ก่อนป้องกันได้

อาการ กัญชารากเน่า เน่าคอดินในต้นกล้า

กัญชารากเน่า มีอาการที่สังเกตุได้ ถ้าพบว่าต้นกัญชาน่าจะมีปัญหาเรื่อง โรครากเน่า โคนเน่า หรือเน่าคอดิน หรือมีปัญหาเรื่องเชื้อราก่อโรคทำลายระบบราก ให้สังเกตุดูว่า ต้นกัญชามีอาการต่อไปนี้หรือไม่ อาการต่างๆด้านล่าง เป็นอาการของต้นกัญชาตทีเป็นโรครากเน่า โคนเน่า

ต้นกัญชาที่เป็นโรครากเน่า จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของรากลดลง ส่งผลให้ใบไม่แข็งแรง ทำให้พืชดูดซับแร่ธาตุต่างๆได้น้อยลง ดูดซับออกซิเจนและน้ำได้ลดลง ส่งผลให้พืชแสดงอาการเหมือนขาดธาตุอาหาร

สาเหตุ ต้นกัญชารากเน่า เน่าคอดิน เกิดจากอะไร

เชื้อราสาเหตุโรครากเน่า โคนเน่า เน่าคอดินในพืชสกุญกัญชา ได้แก่

เชื้อราสาเหตุโรครากเน่า โคนเน่า เน่าคอดิน ในพืชตระกูลกัญชา ข้อมูลจาก https://agri.nv.gov/ Data by Shouhua Wang

การเพิ่มปริมาณของเชื้อราก่อโรคเหล่านี้เกิดจากปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญขยายพันธุ์ ได้แก่ความชื้น อุณภูมิ อาหารสำหรับเชื้อรา เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม สปอร์ของเชื้อราก่อโรคที่อาศัยอยู่ในดินเจริญเติบโตขยายพันธุ์ และแพร่ระบาด โดยอาศัยลม หรือน้ำฝนในการพาสปอร์ไปยังที่อื่น ทำเกิดการระบาดของโรคทั่วแปลงปลูก

5 วิธีป้องกันรักษา ต้นกัญชารากเน่า

1.ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาในวัสดุหรือดินปลูก ดินเพาะเมล็ดพันธุ์

เชื้อราไตรโคเดอร์มา จะช่วยป้องกันการเกิดโรคเน่าคอดิน ของต้นกล้าที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา พิเทียม (Pythium) และเชื้อรา (Fusarium) ฟูซาเรียม

และยังส่งเสริมให้ระบบรากให้มีความแข็งแรง ดูดซับแร่ธาตุต่างๆได้ดียิ่งขึ้น พูดง่ายว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพการกินอาหารของรากให้ดียิ่งขึ้น

2.ใช้วัสดุเพาะกล้า และ วัสดุปลูกที่มีความสามารถระบายน้ำได้ดี

ดินปลูกที่อุ้มน้ำได้ดีเกินไป ทำให้รากสัมผัสกับน้ำนาน ทำให้พืชขาดออกซิเจน และถูกเชื้อราก่อโรคเข้าทำลายได้ง่าย วัสดุหรือดินปลูกที่มีความร่วนซุย นอกจากทำให้ระบายน้ำได้ดี ยังทำให้มีการหมุนเวียนของออกซิเจนได้มากขึ้น ทำให้พืชได้รับก๊าซออกซิเจนอย่างเพียงพอ

3.ใช้ดินปลูกที่อุดมด้วยสารอาหาร

ดินปลูกที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ จะช่วยให้ต้นกัญชาปลูกใหม่ตั้งตัวไว เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถ้าใช้วัสดุปลูกที่ไม่มีธาตุอาหาร ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารค่อนข้างครบถ้วน เช่น ปุ๋ยปลาทะเล ทุกๆวันในอัตราเจือจาง ก็จะช่วยให้ต้นกัญชาที่ปลูกในวัสดุปลูกที่ไม่มีแร่ธาตุอาหารเลย สามารถเจริญเติบไตได้ เช่น ใช้ขุยมะพร้างอย่างเดียวเป็นวัสดุปลูก

4.อย่ารดน้ำจนกว่าดินชั้นบนจะแห้ง

การให้น้ำที่มากเกินไปจะทำให้กัญชาเสี่ยงต่อโรครากเน่า โคนเน่า และโรคเน่าคอดิน ในต้นกล้า วิธีการคือ ถ้าหน้าดินยังไม่แห้ง ก็ยังไม่ต้องให้น้ำ

5.กำจัดส่วนที่เป็นโรคทันที

เมื่อพบส่วนของต้นกัญชาที่เป็นโรค ให้นำออกไปทำลาย โดยวิธีเผานอกแปลงปลูก เพื่อลดการระบาดของโรคไม่ให้กระจายไปทั่งแปลง

จากข้อมูลจะเห็นว่าเชื้อราก่อให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า และเน่าคอดิน ในพืชตระกูลกัญชา ส่วนใหญ่เป็นเชื้อรา Fusarium และ Pythium เป็นเชื้อราที่พบได้ทั่วไปในดิน สามารถก่อให้เกิดโรคได้ทุกระยะ ตั้งแต่การเพาะเมล็ด จนถึงทุกช่วงของการเจริญ

กัญชารากเน่า ป้องกันได้ตังแต่เริ่มต้น โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมดินหรือวัสดุปลูก ตั้งแต่การเพาะเมล็ดพันธุ์ และใช้ทุก7-10 วันในระยะของการเจริญจนถึงให้ผลผลิต

ข้อมูลอ้างอิง

เว็บไซต์ agri.nv.gov : Hemp and Cannabis Crop Diseases.

Exit mobile version