Site icon จำหน่ายปุ๋ย ยา สารชีวภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร แบรนด์เกษตรเลิฟ

โรค ราน้ำค้าง แนะจุดสังเกต-รวมวิธีจัดการ

โรค ราน้ำค้าง (Downy mildew)

ราน้ำค้าง มีเชื้อราสาเหตุ คือ Pseudoperonosporacubensisและเชื้อรา Peronospora parasitica

โรคราน้ำค้าง เป็นโรคสำคัญของพืชตะกูลแตง เช่น แตงโม แตงกวา แตงร้าน มะระ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค

-อุณภูมิต่ำความชื้นสูง โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน

-หน้าหนาวที่มีหมอกลงจำนวนมาก

การแพร่ระบาดของเชื้อรา

จะแพร่ระบาดโดยสปอร์พัดปลิวไปตามลม น้ำ แมลง และสามารถอยู่ได้เป็นเดือนในใบที่ร่วงหล่นอยู่ที่พื้นดินโดยสร้างเส้นใยและสปอร์ผนังหนาอยู่ในชิ้นส่วนที่เป็นโรค แต่ถ้าอากาศแห้งเชื้อราจะตายไปเอง

ในกรณีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ต่อการเจริญของเชื้อราอาจทำให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรง ทำให้ใบในต้นถูกเชื้อราเข้าทำลาย ส่งผลให้ต้นโทรมและอาจตายได้ทั้งต้น

การดูว่าเกิดการระบาดรุนแรงหรือไม่ ดูได้จากจำนวนแผลที่เกิดบนส่วนต่างๆของพืช ถ้ามีจำนวนมาก ให้ถือว่ารุนแรงมาก การเกิดแผลจะเริ่มจากใบล่างขึ้นไป และลุกลามไปยังส่วนบนเรื่อยๆ

ส่วนผลจะไม่ค่อยถูกเชื้อราเข้าทำลายโดยตรง แต่ก็ได้รับความเสียหายได้เช่นกัน ทำให้ผลเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ผลแคระแกร็น ไม่มีคุณภาพ รสชาติเสียไป

ในเมลอน แคนตาลูป และแตงกวา จะทำให้ความหวานลดลง ส่วนในบล็อกโคลี่หรือกะหล่ำดอกก้านดอกจะยืด และดอกอาจบิดเบี้ยวเสียรูปทรง

โรคราน้ำค้างในพืชแต่ละชนิด

โรคราน้ำค้าง ในพืชตระกูลแตง

โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงโม ฟัก แฟง ฟักทอง เมลอน แคนตาลูป เกษตรกรที่ปลูกพืชเหล่านี้ต้องประสบกับปัญหา ราน้ำค้าง ระบาดเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่มีความชื้นสูง หรือมีหมอกลงจัด ควรใส่ใจหมันตรวจตราเป็นพิเศษ เมื่อพบอาการควรทำการป้องกันและกำจัดอย่างรวดเร็ว

อาการโรคราน้ำค้างในเมลอน
  • อาการพบที่ใบล่าง (ใบแก่) โคนเถา เป็นจุดแผลเขียวซีด ขนาดเล็กๆ และจะค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นเป็นสีเหลือง
  • เป็นรูปสี่เหลี่ยมอยู่ระหว่างเส้นใบ และพัฒนาเป็นสีน้ำตาลอ่อนไปจนเข้มกระจายทั่วใบถ้าเกิดการระบาดอย่างรวดเร็วจะทำให้เถาเหี่ยวแห้งตายทั้งเถาได้

จุดสังเกตุที่เห็นได้ชัดสำหรับโรค ราน้ำค้าง คือช่วงเวลาเช้าจะเห็นกลุ่มสปอร์เชื้อราที่ด้านท้องใบคล้ายผงแป้ง ได้เด่นชัดกว่าเวลาอื่นๆ

ช่วงทีระบาดรุนแรงและรวดเร็ว คือช่วงแตงกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่แตงจะสุกแก่พร้อมเก็บเกี่ยว

ราน้ำค้าง ในพืชผักตระกูลกะหล่ำ

ราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำในพื้นที่มีอากาศหนาว ช่วงหมอกลงจัด ความชื้นสูง มีน้ำค้างในช่วงเช้า อุณภูมิอยู่ระหว่าง 16-22 องศาเซียลเซียส เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของโรค การระบาดเกิดจากสปอร์ปลิวไปกับลม หรือติดไปกับสิ่งที่เคลื่อนที่แล้วตกลงใบพืชเข้าทำลายพืช

Credit: Howard F. Schwartz, Colorado State University, Bugwood.org
Credit: Colucci, North Carolina State University
Credit: Colucci, North Carolina State University

อาการเริ่มต้นจะสังเกตุได้ที่

โรคราน้ำค้างในกุหลาบ

โรคราน้ำค้างกุหลาบพบได้ทั้งในฤดูฝนและหนาว การหมั่นสำรวจความผิดปกติของพืชเป็นประจำ เมื่อพบอาการของโรคในระยะเริ่มต้น ทำให้การป้องกันทำได้อย่างรวดเร็วช่วยลดความเสียหายได้มาก

Credit: Chad Behrendt
Credit: Janna Beckerman

การหมั่นสำรวจแปลงปลูกบ่อยๆจะช่วยให้เราสังเกตุเห็นอาการของโรคได้เร็ว โรคราน้ำค้างกุหลาบมี

สาเหตุจากเชื้อรา Peronospora sparsa Berk. อาการที่บ่งบอกว่ากุหลาบเป็นโรคราน้ำค้าง

โรคราน้ำค้างในข้าวโพด

เกิดจากเชื้อรา Peronosclerospora sorghi ซึ่งเชื้อราชนิดนี้ จะมีก้านชูสปอร์สำหรับแพร่กระจายที่ปลาย สปอร์จะมีสีใส ลักษณะคล้ายรูปไข่ เชื้อราชนิดนี้จะเข้ามาติดเชื้อข้าวโพดที่เป็นต้นอ่อนตั้งแต่อายุประมาณ 30-40 วัน ในช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสูง ข้าวโพดจะเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อราน้ำค้าง

Photo courtesy of C. De Leon. Reprinted from Shurtleff, M.C. 1983,
Compendium of Corn Diseases, Second Edition, American Phytopathological Society, St.
Paul, MN.Photo courtesy of A.J. Ullstrup and B.L. Renfro. Reprinted from
Shurtleff, M.C. 1983, Compendium of Corn Diseases, Second Edition, American
Phytopathological Society, St. Paul, MN.
Photo courtesy of C. De Leon. Reprinted from White, D.G. 1999, Compendium of Corn
Diseases, Third Edition, American Phytopathological Society, St. Paul, MN.

อาการของโรคราน้ำค้างของข้าวโพด จะพบแถบสีเหลืองยาวๆ ไปตามความยาวของใบจะเห็นแผลแบบทางลายสีเหลือง เขียวอ่อน สลับกันเป็นทางยาว เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งหลังจากเป็นโรค จะเห็น รอยสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเกิดเป็นอาการใบไหม้ แห้ง ทำให้ต้นข้าวโพดตายไปในที่สุด

วิธีการป้องกันและกำจัด การฉีดพ่นแร่ธาตุอย่างแคลเซียมทุกๆ 7-10 วัน เผาทำลายส่วนที่เป็นโรคทิ้งทันที เพื่อป้องกันการแพร่กระจายาง

โรคราน้ำค้างในผัก

ราน้ำค้างในผักมีเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis เป็นเชื้อราสาเหตุก่อให้เกิดโรค

อาการของผักที่เป็นโรคราน้ำค้าง จะพบเห็นสีจุด หรือแถบสีเหลืองบนใบผัก และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจนถึงสีดำ ลักษณะแผลจะเป็นสีเหลืองเหลี่ยมๆ อยู่ในขอบเส้นใน เมื่อสังเกตุด้านใต้ใบ จะพบกลุ่มสปอร์สีเทาดำบริเวณแผลใต้ใบ ใบที่เป็นโรคจะค่อยๆแห้ง แต่ไม่หลุดออกจากต้น ทำให้ผักที่เป็นโรคราน้ำค้าง มีผลและใบที่ลีบ บิดเบี้ยว ไม่สวย แคระแกร็น คุณภาพต่ำ ขายไม่ได้ราคา

โรคราน้ำค้างบนลิ้นจี่

โรคราน้ำค้างในลิ้นจี่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Peronophethora Litchii จากข้อมูล จากคู่มือลิ้นจี่ นพ.1 ที่จัดทำโดยสำหนักงานคณะกรรมการพิเศษ

อาการที่สามารถสังเกตุเห็นได้ง่าย คือ จะมีแผลสีน้ำตาลดำ ลักษณะแผลค่อนข้างกลม และจะพบเชื้้้อราสีขาวฟูบนแผลหลังจากโดนเชื้อราเข้าทำลาย โดยเชื้อราจะสร้างเส้นใย ที่เปลือกผิวที่เป็นโรค

โดยเฉพาะช่วงสภาพอากาศชุ่มชื้น ฝนตกหนัก อาจทำให้ผลผลิตลิ้นจี่เน่าเสีย โรคราน้ำค้างในลิ้นจี่สามารถพัฒนาอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วัน

วิธีการป้องกันและกำจัด บริเวณที่เป็นแผลหรือแสดงอาการของโรคราน้ำค้างให้เผาทำลายทิ้งทันที

โรคราน้ำค้างในโหระพา

เชื้อรา Peronospora sp. เป็นเชื้อราสาเหตุ ก่อให้เกิดโรคราน้ำค้างในโหระพา

อาการเกิดได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของโหระพา โดยส่วนใหญ่ราน้ำค้างในโหระพาจะเกิดขึ้นทีใบ โดยจะพบเห็นแผลสีเหลืองมีลักษณะเป็นสีเหลี่ยม

Photo: M. McGrath, Cornell University
อาการโรคราน้ำค้างในโหระพาด้านหลังใบ :  Photo: Gerald Holmes, Strawberry Center, Cal Poly San Luis Obispo, Bugwood.org

รู้ได้อย่างไรว่าโหระพาของคุณเป็นโรคราน้ำค้าง

-การติดเชื้อเริ่มจากใบล่างขึ้นไปบนต้นพืช
-ใบที่ติดเชื้อจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอยู่ระหว่างเส้นใบ เมื่อเวลาผ่านไปจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งใบ
-จะพบจุดดำบนใบที่ติดเชื้อนานแล้ว
-บริเวณใต้ใบจะมองเห็นสปอร์สีน้ำตาลไปทางค่อนข้างดำมีลักษณะฟูๆเจริญเติบโตปกคลุมบริเวณแผล

ถ้าเกิดการระบาด รุนแรงมากจะทำให้ต้นแห้งจนตายได้ ในระยะกล้าหรือต้นเล็กจะแห้งตายทั้งต้น สำหเชื้อรา Peronospora sp. จะสามารถแพร่กระจายโดยติดไปกับเมล็ดพันธุ์ กระแสลม น้ำฝน แมลง โดยเมื่อสปอร์ของเชื้อราแก่ จะหลุดออกจาก้านสปอร์ได้ง่าย โดยมีลมช่วยพัดพาไปได้ไกล เมื่อตกลงบนใบหรือส่วนของพืชที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม สปอร์จะงอกและเส้นใยเจริญเข้าไปในเซลล์หรืออยู่ระหว่างเซลล์ในเนื้อเยื่อพืช

โรคราน้ำค้าง องุ่น (Downy Mildew of Grape)

ชื่ออื่นๆของโรคราน้ำค้าง ชาวสวนบางที่เรียกว่า โรคราขาว หรือ โรคราใต้ใบ เนื่องจากพบเชื้อราก่อโรคนี้เป็นสีขาวที่ใต้ใบองุ่น โรคราน้ำค้างพบได้ในองุ่นทุกสายพันธุ์

Credit: M. Ellis, OSU
Credit: M. Ellis, OSU

อาการ (Symptom)ของโรคราน้ำค้างในองุ่น

โรคราน้ำค้างเกิดกับทุกส่วนขององุ่น เช่น ใบ ยอดอ่อน เถา มือจับ (endril) ช่อดอก และผล

สามารถสังเกตุอาการของโรคได้ดังนี้

โรคราน้ำค้างในองุ่นจะระบาดรุนแรงมากในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง และมีอุณภูมต่ำ โดยเฉพาะในช่วงฝนตกชุก ไม่ค่อยมีแสงแดด

อาการโรคราน้ำค้างบนช่อดอกองุ่น

อาการของโรคบนมือจับใบ

อาการโรคราน้ำค้าง ในองุ่นบนเถาอ่อน

การแพร่ระบาดของโรคราน้ำค้างในองุ่น
เชื้อราก่อโรคราน้ำค้างขององุ่นระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยมีลมพัดพาสปอร์ไป และมีส่วนน้อยทีอาจติดไปกับแมลงและน้ำฝน

ดังน้ำการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคจึงทำได้ยาก เมื่อเชื้อราตกบนใบองุ่นก็จะงอกเจริญเติบโตทำลายองุ่นทางปากใบด้านล่าง

หลังจากติดเชื้อโรคได้ประมาณ 7 วัน จะพบเห็นสีเหลืองปนเขียวบนใบ มีลักษณะโปร่งแสง และภายใน 10 วัน จะเห็นเชื้อราเกิดขึ้นใต้ใบอย่างชัดเจน ซึ่งก็คือสปอร์และก้านสปอร์ของเชื้อราก่อโรค สปอร์เหล่านี้จะเป็นตัวแพร่ระบาดต่อไปได้อีก

การป้องกันโรคราน้ำค้าง

จุลินทรีย์จากธรรมชาติป้องกันโรคราน้ำค้าง

โรคราน้ำค้าง สามารถป้องกันและแก้ไขได้ เพื่อป้องกันการระบาดของโรค

การบำรุงดูแลช่วงระหว่างการเจริญเติบโต ให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นประจำทุกๆ 7-10 วันครั้ง จะช่วยลดโอกาสการระบาดของโรค ราน้ำค้าง ได้เป็นอย่างดี

การรักษาโรคราน้ำค้างในกรณีเกิดการระบาดอย่างหนัก

เมื่อพบเห็นแผลที่ต้นพืชเกิดเป็นจำนวนมากโดยพบแผลเกิดขึ้น ทุกส่วนในของใบพืช ตั้งแต่ใบล่างและลุกลามไปถึงใบบนแล้ว แสดงว่าโรคราน้ำค้างได้เกิดการระบาดอย่างหนักแล้ว

วิธีหยุดการระบาดที่ดีทีสุด คือ การใช้สารเคมี ไซมอกซานิล (cymoxanil) 8% ผสมกับ แมนโคเซบ (mancozeb) 64% โดยใช้อัตราส่วนสารทั้งสอง 30 กรัมต่อน้ำปริมาณ 20 ลิตร ฉีดทุกๆ 5 วัน หรือใช้เป็น โครโรทาโลนิล (chlorothalonil) 75% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำปริมาณ 20 ลิตร

แหล่งอ้างอิง

สถาบันเทคโนโลยีวิจัยการเกษตร
เรื่อง “ลดต้นทุนและปลอดภัย หากเกษตรกรใช้การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน” หัวข้อ โรคราน้ำค้าง, สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด
งานวิจัยในเรื่องของ “ประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดเชื้อราบางชนิดในการป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างของแตงกวา”, คุณพัชรา ปัจสมานวงศ์ และคณะ
หนังสือโครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร, ศูนย์ประสานงานสารนิเทศ สาขาเกษตรศาสตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Univesity of Minnessota Extension.

Exit mobile version