Site icon จำหน่ายปุ๋ย ยา สารชีวภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร แบรนด์เกษตรเลิฟ

ไตรโคเดอร์มา คืออะไร

เชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ เชื้อราดีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราก่อให้เกิดโรคในพืช 

เชื้อไตรโคเดอร์มา คือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่เราเรียกว่า ” จุลินทรีย์ ”  จัดอยู่ในกลุ่มของเชื้อรา หรือเรามักเรียกมันว่า ราเขียว เพราะลักษณะสีเขียวของมันนั้นเอง ราเขียวไตรโคเดอร์มาพบได้ในธรรมชาติ แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพื้นที่ ไตรโคเดอร์มาที่พบในธรรมชาติก็มีหลายสายพันธ์ แต่สายพันธ์ที่ได้รับการยอมรับ ในการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อควบคุมเชื้อรา สาเหตุก่อโรคพืชนั้น ได้แก่สายพันธ์ Trichoderma harzianum

เชื้อราไตรโคเดอร์มา ขยายเชื้อบนข้าวสุก

เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมราสาเหตุได้อย่างไร

กลไกในการควบคุมเชื้อราโรคพืช

►1. เจริญแข่งขัน แก่งแย่งอาหาร น้ำ แร่ธาตุ อากาศ และแหล่งที่อยู่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณ
ลงอย่างรวดเร็ว

►2. เป็นปรสิต สร้างเส้นใยพันรัดและแทงดูดกินน้ำเลี้ยง จากเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้เส้นใยสลายลดการขยาย
เผ่าพันธุ์ลง

►3. สร้างสารพิษ น้ำย่อย ไปทำลายเชื้อราโรคพืชทำให้เส้นใย และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา โรคพืชเหี่ยวสลาย
และตายในที่สุด

พวกมันควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชอะไรได้บ้าง

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดินได้มากกว่า 10 ชนิด ที่สำคัญได้แก่

1. เชื้อราพิเทียม สาเหตุโรคกล้าเน่า เมล็ดเน่า เน่ายุบ และเน่าคอดิน
2. เชื้อราไฟทอปธอร่า สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า โรคเลทไบลท์
3. เชื้อราสเคลอโรเทียม สาเหตุโรคโคนเน่า โรครากเน่า (ราเมล็ดผักกาดขาว)
4. เชื้อราไรช็อคดทเนีย สาเหตุโรคกล้าเน่า โคนเน่าขาว รากเน่า
5. เชื้อราฟิวซาเรียม สาเหตุโรคเหี่ยว

วิธีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าไปใช้

1. การคลุกเมล็ด ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด) 1-2 ช้อนแกง (10-20 กรัม) ต่อเมล็ดพืช 1 กก. โดยคลุกเคล้าให้เข้า
กันในถุงอาจเติมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้สปอร์ของเชื้อราเคลือบติดบนผิวของเมล็ดพืชได้ดียิ่งขึ้น

2. การรองก้นหลุมและการหว่าน ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก. บวกลำละเอียด 5 กก. บวกปุ๋ยหมัก 40 กก. รองก้นหลุม
ปลูกในพืชผัก พืชสวน 10-20 กรัม/ต้น หว่านในแปลงปลูก 50-100 กรัม/ตารางเมตร และในพืชสวนหว่านใต้ทรงพุ่มในอัตรา
3-5 กก./ต้น

3. การผสมกับวัสดุปลูก ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด)ที่ผสมแล้วกับวัสดุผสม 1 ส่วน กับวัสดุปลูก 4 ส่วน คลุกเคล้า
ให้เข้ากันก่อนบรรจุลงในภาชนะเพาะเมล็ด เพาะกล้า

4. การผสมน้ำฉีดพ่น ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด) 1 กก. ต่อน้ำ 100 ลิตร โดยกวนล้างสปอร์ในน้ำ 20 ลิตรก่อน
จากนั้นกรองเอาเฉพาะน้ำสปอร์เทลงถังฉีดพ่นและเติมน้ำจนเต็ม 100 ลิตร ใช้ฉีดพ่นในแปลงกล้าโคนต้นพืช

ไตรโคเดอร์มา มีประสิทธิภาพมากมายแต่มันก็มีข้อด้อยอยู่เหมือนกัน อย่างไตรโคเดอร์มาสด ที่เราขยายได้จากหัวเชื้อ ก็ต้องใช้ให้หมดเพราะไม่สาารถเก็บไว้ได้นานเหมือนสารเคมี เชื้อสดถึงแม้จะเก็บในตู้เย็นก็ได้แค่สัปดาห์เดียวเท่านั้น

ดังนั้น เมื่อเกิดการระบาดของโรค การใช้เชื้อสดเพื่อควบคุมการระบาดของโรคอาจไม่ทัน เพราะการขยายเชื้อสดต้องใช้เวลาถึง 7 วันกว่าจะได้เชื้อสดมาใช้

…..ไตรโคเดอร์มา จึงเหมาะกับการใช้ในเชิงป้องกัน จะให้ผลได้ดีกว่า

Exit mobile version