คำอธิบาย
ไคโตซาน สำหรับพืช ตราเกษตรเลิฟ
Chitosan Pure ผลิตจากไคโตซาน 100 % ไม่ผสมปุ๋ยน้ำ
ไคโตซาน เป็นสารสกัดที่ได้จาก เปลือกุ้ง ปู แกนปลาหมึก ผนังเซลล์ของเห็ดรา สาหร่าย และจุลทรีย์อีกหลายชนิด แต่ในปัจจุบันไคโตซานที่ได้ ส่วนใหญ่สกัดมาจาก เปลือกกุ้ง ปู และแกนปลาหมึกเนื่องจากได้ปริมาณสารไคโตซานที่มากคุ้มค่าในการผลิต โดยการนำเปลือกกุ้ง ปู และแกนปลาหมึกมาผ่านกระบวนการสกัดเอาโปรตีน และแร่ธาตุอื่นๆออกจนได้ไคตินและไคโตซาน
ข้อดีของไคโตซาน
- เป็นวัสดุชีวภาพ (Biomaterials ) สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
- มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์
- ไม่เกิดผลเสีย และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
- ไม่เกิดการแพ้
- ไม่ไวไฟ
- ไม่เป็นพืษ (non phytotoxic ) ต่อพืช
วิธีใช้ไคโตซานในพืช
นำไปฉีดให้กับพืชสวน หรือทีปลูกในแบบไฮโดรโปรนิกส์ โดยฉีดให้ที่ใบพืชเพียงให้ใบเปรียก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ต่อครั้ง ต้นไม้จะดูดซับสารไคโตซานที่ฉีดให้เข้าไปทางปากใบ
- ใช้เพื่อกระตุ้นให้พืชสร้างความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช อย่าง หนอนใยผัก หนอนคืบ และอื่นๆ
วิธีการใช้ การพ่นทางใบ ลำต้น (ขึ้นอยู่กับส่วนที่ศัตรูพืชอาศัยอยู่) อัตราการใช้ 10-20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
- ใช้เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเขื้อสาเหตุโรคพืช
-ไวรัสโรคพืช
-แบคทีเรีย เช่นแคงเกอร์ ใบจุด
-เชือรา เช่น เชื้อไฟทอปธอร่า พิเทียม ฟิวซาเรียม Botrytis cineres ,Rhizopus stolonifer
-แอนแทรคโนส เมลาโนส ราน้ำค้าง ใบติด ราขาว – โคนเน่า ใบจุด โรคใบสีส้ม ใบลาย
วิธีการใช้ โดยการพ่นทางใบ ให้ฉีดที่ใบพืชเพียงให้ใบเปรียก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ต่อครั้ง ในอัตราการใช้ 10-20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
ประโยชน์ของไคโคซาน ในการทำเกษตร (เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อพืชมากๆ)
ไคโตซานเป็นสารชีวภาพที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก และจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบประโยชน์ของไคโตซานที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในทุกภาคอุตสาหกรรม ซึ่งความโดดเด่นของไคโตซาน คือ เป็นสารโพลิเมอร์จากธรรมชาติ ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ ไม่เป็นพิษต่อพืช ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้
ไคโตซาน สารชีวภาพจากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อพืชอย่างมาก ดังต่อไปนี้
- เร่งการเจริญเติบโตของพืช
โครงสร้างของไคโตซานมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ จึงทำหน้าที่เป็นปุ๋ยชีวภาพ ที่ถูกปลดปล่อยออกมาอย่างช้าๆ จากการค่อยๆปลดปล่อย ไนโตเจนอย่างช้าๆ ช่วยให้พืชได้รับธาตุไนโตเจนจากไคโตซานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พืชมีการเจริญเติบอย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุดเนื่องจากการขาดไนโตเจน
- เป็นตัวกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิต้านทางแมลงศัตรูพืช
ไคโตซานสามารถทำหน้าที่เป็นสารกระตุ้นพืช โดยไคโตซานจะกระตุ้นให้มีการผลิตสารลิกนินและแทนนินของพืชมากขึ้น พืชสามารถใช้ สาร เหล่านี้ในการป้องกันตัวเองจากการกัด ดูด ทำลายของแมลงศัตรูพืช จะสังเกตุว่าต้นพืชที่ได้รับไคโตซานจะมีแวกซ์เคลือบที่ผิวใบ
- ส่งเสริมการเพิ่มปริมาณของสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดิน
ไคโคซานสามารถส่งเสริม การเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เช่นเชื้อ Actinomycete sp. เชื้อ Trichoderma spp. ทำให้เกิดการลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคพืช เช่น เชื้อ (Furarium) เชื้อ Phythophthora spp. และเชื้อก่อโรคพืชอื่นๆ
- ยับยั้ง ต่อต้านเชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย บางชนิดที่เป็นเชื้อสาเหตุก่อให้เกิดโรคพืช
ไคโตซานมีความสามารถในการยับยั้ง เชื้อสาเหตุก่อให้เกิดโรคพืชได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด เช่น เชื้อไฟทอปธอรา พิเทียม โดยไคโตซานจะซึมผ่านเข้าทางผิวใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืช (รักษาโรคพืช) เช่น โรค แอนแทรคโนส เมลาโนส โรครากเน่า โคนเน่า ราน้ำค้าง ราขาว โรคแคงเกอร์ โรคใบติด โรคใบจุด โรคใบสีส้มในนาข้าว และโรคอื่นๆ และยังสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ยังไม่เป็นโรคได้อีกด้วย
- ไคโตซานช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค (Disease Resistance Response Genes )
โดยไคโคซานมีคุณสมบัติที่ออกฤทธิ์ เป็นตัวกระตุ้น (elicitor) โดยจะไปจะกระตุ้นระบบป้องกันตัวเองของพืช (กระตุ้น DNA ในนิวเคลียสพืชในการสร้างยีน ซึ่งควบคุมระบบภูมิคุ้มกันโรค) ทำให้พืชผลิตเอ็นไซม์และสารเคมี เพื่อป้องกันตนเองหลายชนิด ช่วยพืชลดโอกาสที่จะถูกคุกคามโดยเชื้อสาเหตุโรคพืชได้
- ไคโตซานช่วยลดการเกิด โรครากเน่า โคนเน่า
ซึ่งโรครากเน่าโคนเน่ามักเป็นปัญหากับไม้ผลบางชนิดอย่างมาก อาทิเช่น ทุเรียน การใช้ไคโตซานจะช่วยป้องกันรากและโคนไม่ให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่าได้ง่ายๆ
- เป็นสารฆ่าแมลง (Insecticide)
อนุพันธฺิ์ของไคติน และไคโตซานถูกนำไปใช้ในการขบวนการผลิตเอ็นไซม์ chitinase ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลง โดยที่เอ็นไซม์ไคติเนส จะย่อยสลายไคติน ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ของเปลือกหุ้มตัวของแมลงศัตรูพืช
- เป็นสารปรับปรุงดิน (soil Condition)
ไคตินและไคโตซานสามารถนำมาปรับปรุงดิน ถ้าเป็นดินเหนียวไคตินจะช่วยเพิ่มความพรุนของดิน เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำในดินทรายและดินร่วน และยังทำหน้าที่เป็นสารพาที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสารที่เป็นธาตุอาหารรอง และเสริม (micro organic ) โดยไคโตซานจะจับสารเหล่านั้นจนอยู่ในรูปคีเลต แล้วค่อยๆปลดปล่อยออกมาให้พืช ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนานในอัตราคงที่ ตามอัตราการย่อยสลายอนุพันธ์ของไคตินและไคโตซาน ช่วยลดปัญหา การใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น ซึ่งมีผลต่อพืชและสภาพดิน
จากการกรณีศึกษาในการนำไคโตซานมาใช้กับพืชนั้น พบว่า ไคโตซานที่มีค่า Degree Of Deacetylation สูงกว่า 90 ขึ้นไป มีผลต่อการต่อต้านจุลินทรีย์ได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยสามารถยับยั้งและฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคพืชบางตัวได้อย่างสมบุรณ์ทีเดียว