อาการ กัญชารากเน่า เน่าคอดินในต้นกล้า
กัญชารากเน่า มีอาการที่สังเกตุได้ ถ้าพบว่าต้นกัญชาน่าจะมีปัญหาเรื่อง โรครากเน่า โคนเน่า หรือเน่าคอดิน หรือมีปัญหาเรื่องเชื้อราก่อโรคทำลายระบบราก ให้สังเกตุดูว่า ต้นกัญชามีอาการต่อไปนี้หรือไม่ อาการต่างๆด้านล่าง เป็นอาการของต้นกัญชาตทีเป็นโรครากเน่า โคนเน่า
- ใบเหลือง ใบร่วง ใบม้วนงอ
- ปลาบใบ หรือ ขอบใบไหม้
- มีจุดสีเหลือง หรือสีน้ำตาลอยู่บนใบ
- ใบร่วง ยอดแห้ง ต้นเหมือนกำลังจะตาย
- มีลักษณะเหมือนขาดธาตุอาหาร
- ดูดซับน้ำได้น้อยลง
ต้นกัญชาที่เป็นโรครากเน่า จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของรากลดลง ส่งผลให้ใบไม่แข็งแรง ทำให้พืชดูดซับแร่ธาตุต่างๆได้น้อยลง ดูดซับออกซิเจนและน้ำได้ลดลง ส่งผลให้พืชแสดงอาการเหมือนขาดธาตุอาหาร
สาเหตุ ต้นกัญชารากเน่า เน่าคอดิน เกิดจากอะไร
เชื้อราสาเหตุโรครากเน่า โคนเน่า เน่าคอดินในพืชสกุญกัญชา ได้แก่
- เชื้อรา พิเทียม Pythium (เชื้อราสาเหตุทำให้ราก โคน ลำต้น เน่า) และ
- เชื้อรา Fusarium (เชื้อราก่อโรครากเน่า (root rot) และ โรคเหี่ยว (wilt) ในพืชตระกูลกัญชา เชื้อราก่อโรคเหล่านี้มีอยู่ในดินทั่วไปอยู่แล้ว แต่จะทำให้เกิดโรคในพืชได้ เมื่อมีปริมาณมากกว่าเชื้อราดี หรือต้องมีในปริมาณที่มากพอ
การเพิ่มปริมาณของเชื้อราก่อโรคเหล่านี้เกิดจากปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญขยายพันธุ์ ได้แก่ความชื้น อุณภูมิ อาหารสำหรับเชื้อรา เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม สปอร์ของเชื้อราก่อโรคที่อาศัยอยู่ในดินเจริญเติบโตขยายพันธุ์ และแพร่ระบาด โดยอาศัยลม หรือน้ำฝนในการพาสปอร์ไปยังที่อื่น ทำเกิดการระบาดของโรคทั่วแปลงปลูก
5 วิธีป้องกันรักษา ต้นกัญชารากเน่า
1.ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาในวัสดุหรือดินปลูก ดินเพาะเมล็ดพันธุ์
เชื้อราไตรโคเดอร์มา จะช่วยป้องกันการเกิดโรคเน่าคอดิน ของต้นกล้าที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา พิเทียม (Pythium) และเชื้อรา (Fusarium) ฟูซาเรียม
และยังส่งเสริมให้ระบบรากให้มีความแข็งแรง ดูดซับแร่ธาตุต่างๆได้ดียิ่งขึ้น พูดง่ายว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพการกินอาหารของรากให้ดียิ่งขึ้น
2.ใช้วัสดุเพาะกล้า และ วัสดุปลูกที่มีความสามารถระบายน้ำได้ดี
ดินปลูกที่อุ้มน้ำได้ดีเกินไป ทำให้รากสัมผัสกับน้ำนาน ทำให้พืชขาดออกซิเจน และถูกเชื้อราก่อโรคเข้าทำลายได้ง่าย วัสดุหรือดินปลูกที่มีความร่วนซุย นอกจากทำให้ระบายน้ำได้ดี ยังทำให้มีการหมุนเวียนของออกซิเจนได้มากขึ้น ทำให้พืชได้รับก๊าซออกซิเจนอย่างเพียงพอ
3.ใช้ดินปลูกที่อุดมด้วยสารอาหาร
ดินปลูกที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ จะช่วยให้ต้นกัญชาปลูกใหม่ตั้งตัวไว เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถ้าใช้วัสดุปลูกที่ไม่มีธาตุอาหาร ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารค่อนข้างครบถ้วน เช่น ปุ๋ยปลาทะเล ทุกๆวันในอัตราเจือจาง ก็จะช่วยให้ต้นกัญชาที่ปลูกในวัสดุปลูกที่ไม่มีแร่ธาตุอาหารเลย สามารถเจริญเติบไตได้ เช่น ใช้ขุยมะพร้างอย่างเดียวเป็นวัสดุปลูก
4.อย่ารดน้ำจนกว่าดินชั้นบนจะแห้ง
การให้น้ำที่มากเกินไปจะทำให้กัญชาเสี่ยงต่อโรครากเน่า โคนเน่า และโรคเน่าคอดิน ในต้นกล้า วิธีการคือ ถ้าหน้าดินยังไม่แห้ง ก็ยังไม่ต้องให้น้ำ
5.กำจัดส่วนที่เป็นโรคทันที
เมื่อพบส่วนของต้นกัญชาที่เป็นโรค ให้นำออกไปทำลาย โดยวิธีเผานอกแปลงปลูก เพื่อลดการระบาดของโรคไม่ให้กระจายไปทั่งแปลง
จากข้อมูลจะเห็นว่าเชื้อราก่อให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า และเน่าคอดิน ในพืชตระกูลกัญชา ส่วนใหญ่เป็นเชื้อรา Fusarium และ Pythium เป็นเชื้อราที่พบได้ทั่วไปในดิน สามารถก่อให้เกิดโรคได้ทุกระยะ ตั้งแต่การเพาะเมล็ด จนถึงทุกช่วงของการเจริญ
กัญชารากเน่า ป้องกันได้ตังแต่เริ่มต้น โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมดินหรือวัสดุปลูก ตั้งแต่การเพาะเมล็ดพันธุ์ และใช้ทุก7-10 วันในระยะของการเจริญจนถึงให้ผลผลิต
ข้อมูลอ้างอิง
เว็บไซต์ agri.nv.gov : Hemp and Cannabis Crop Diseases.