โรครากเน่าโคนเน่า เป็นหนึ่งในโรคสำคัญสำหรับชาวสวนทุเรียน เพราะเป็นโรคที่สามารถทำให้ต้นทุเรียนตายได้
การใช้สารป้องกันและกำจัดเชื้อราอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ จะช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อราก่อโรครากเน่าโคนเน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือ
สูตรบำรุงทุเรียนเล็กให้ยอดพุ่ง
เร่งแตกยอดทุเรียนเล็ก เร่งราก เร่งโตไว ใบเขียวสด ขยายลำต้น กิ่งก้าน ใช้น้อยเห็นผลไว บำรุงต้น แตกยอดเพียบ ช่วยให้ทุเรียนปลูกใหม่ตั้งตัวเร็ว โตไร้การสะดุด
1 ลิตร 279.-บาท ค่าส่ง 65 บาท
3 ลิตร ขึ้นไป ฟรีค่าส่ง มีเก็บปลายทางไม่บวกเพิ่ม
7 สารป้องกันกำจัดเชื้อราก่อโรครากเน่าโคนเน่าที่ชาวสวนทุเรียนควรรู้
1.เชื้อราไตรโคเดอร์มา (สารอินทรีย์ชีวภาพใช้ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน)
ไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) เป็นเชื้อรากำจัดโรคพืชได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเชื้อราก่อโรคพืชในดิน อย่างเชื้อไฟทอปธอรา (Phytophthora)ที่ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่พบได้ในดินทั่วไป ได้รับการยอมรับทั่วโรคในเรื่องการใช้ควบคุมเชื้อราก่อโรคที่อยู่ในดิน ผลิตภัณฑ์ไตรโคเดอร์มาจัดเป็นสารชีวภัณฑ์ที่เหมาะการป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า
เช่น Trico-zไตรโคเดอร์มาชนิดผงละลายน้ำ
2.บาซิลลัส ซับทีลิส (Bacillus subtilis)
บาซิลลัส ซับทีลิส (Bacillus subtilis) แบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการกำจัดเชื้อราก่อโรครากเน่าโคนเน่าในดินได้เช่นเดียวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา แบคทีเรีย บาซิลลัส เป็นแบคทีเรียที่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับใช้ควบคุมเชื้อราก่อโรค บาซิลลัส ซับทีลิส จัดเป็นสารชีวภัณฑ์ สั่งซื้อที่ shopee and lazada
3.เมทาแลคซิล กลุ่ม 4
เป็นสารในกลุ่ม acylalanines มีคุณสมบัติเป็นสารดูดซึม ยับยั้ง เส้นใยและการงอกของสปอร์เชื้อรา มีฤทธิ์ดูดซึมได้นาน ป้องกันและกำจัด เชื้อราไฟทอปธอร่า สามารถเอาหว่านโคนต้น หรือ ผสมน้ำราดโคน ราดทรงพุ่ม ปัจจุบันมีทั้งแบบผง 25 % 35 % และแบบน้ำคือ เมทาแลคซิล-เอ็ม สำหรับสวนทุเรียนที่พบการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าในระยะเริ่มต้นและยังไม่เคยใช้ยาฆ่าเชื้อราเคมีตัวอื่นมาก่อน แนะนำใช้ เมทาแลคซิล เลือกซื้อยาฆ่าเชื้อราเมทาแลคซิลออนไลน์
4.ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม (fosetyl-aluminium) กลุ่ม P7
ค้นหา ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม ที่ shopee หรือ Lazada
เป็นสารกลุ่ม phosphonates มีคุณสมบัติเป็นสารดูดซึมแบบสมบูรณ์และแทรกซึมเข้าต้นพืชได้รวดเร็ว ระยะปลอดฝนสั้นเคลื่อนย้ายจากปลายรากสู่ส่วนยอดและเคลื่อนย้ายในต้นพืชผ่านท่อน้ำและท่ออาหารได้ดี ยับยั้งการงอกของสปอร์และขัดขวางการพัฒนาเส้นใยเชื้อโรค มีกลไกพิเศษกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกัน (Host plant defence)
อัตราการใช้ 50-100 กรัม / 20 ลิตร ราดทั่วทรงพุ่ม
5.ฟอสฟอรัส แอซิด(Phosphorous acid ) กลุ่ม 33
ฟอสฟอรัส แอซิด มีฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดเชื้อราไฟทอปธอร่า ในดินได้เช่นกัน นอกจากจะเอาไปพ่นทางใบ ทาแผล ฝังเข็ม ก็แนะนำให้เอา ฟอสฟอรัส แอซิด ผสมน้ำในอัตรา 30-50 ซีซี / 20 ลิตร ราดรอบทรงพุ่ม เพื่อป้องกันและกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าได้เช่นกัน
6.โพมาโพคาร์ป ไฮโดรคลอไรด์ (propamocarb hydrochloride) กลุ่ม 14
ค้นหาสินค้านี้ที่ shopee หรือ lazada
สารโพรพาโมคาร์บ เป็นสารเคมีป้องกำจัดโรคพืช ออกฤทธิ์ประเภท ดูดซึม (systemic fungicides) มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดเชื้อไฟทอปธอรา และสามารถแก้ปัญหาเรื่องการ ดื้อยา กับเชื้อโรคกลุ่มไฟทอปธอรา โดยใช้สาร อัตรา 40-250 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบบริเวณทรงพุ่ม
7.เทอร์ราคลอร์ ซุปเปอร์-เอ็กซ์ (Terraclor Super-X)
ซื้อ เทอร์ราคลอร์ ซุปเปอร์-เอ็กซ์ (Terraclor Super-X) ที่ shopee หรือ lazada
เทอร์ราคลอร์ ซุปเปอร์-เอ็กซ์ เป็นสารกำจัดโรคพืชในกลุ่ม 14 ประกอบด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช 2 ชนิด ได้แก่
ควินโตซีน (quintozene) + อีไตรไดอะโซล (etridiazole)เสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน ช่วยให้กำจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้อย่างเฉียบพลัน
– สารกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ได้ดีทั้งการป้องกันโรค และการกำจัดโรคที่เกิดกับพืชปลูกแล้ว
– กลุ่มสาร Aromatic hydrocarbon (กลุ่ม 14) สามารถกำจัดเชื้อราในดินได้อย่างเฉียบพลัน กำจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดินทั้ง 5 ชนิดที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคเน่าโคนเน่า
1. เชื้อราไฟทอปธอร่า (Phytophthora spp.)
2. เชื้อราพิเทียม (Pythium sp.)
3. เชื้อฟิวซาเรียม (Fusarium spp.)
4. เชื้อราไรซอคโทเนีย (Rhizoctonia spp.)
5. เชื้อราสเคลอโรเทียม (Sclerothium spp.)
อัตราการใช้ราดดิน 30-50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบทรงพุ่ม โคน มีฤทธิ์ในการป้องกันและรักษาโรครากเน่าโคนเน่า
สรุปคำแนะนำในการเลือกใช้สารป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน
ใช้ป้องกันในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการระบาด
แนะนำใช้สารชีวภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มา หรือ แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทีลิส เหมาะสำหรับป้องกันและกำจัดเชื้อราก่อโรคในดิน โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าที่มีเชื้อราไฟทอปธอร่าเป็นสาเหตุหลัก การใช้ ไตรโคเดอร์มาใส่ดินหรือฉีดพ่นลงดินอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน จะช่วยควบคุมเชื้อราก่อโรคในดินไม่ให้เพิ่มจำนวนจนก่อให้เกิดโรคได้
ในกรณีต้นเพิ่มเริ่มมีอาการโรครากเน่าโคนเน่า การระบาดยังไม่รุนแรง
แนะนำใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาฉีดพ่นหรือใส่ทางดิน ทุกๆ 4 วันครั้ง ประมาณ 4- 5 ครั้ง แล้วสังเกตุการระบาดถ้าลดลง ต้นทุเรียนที่เป็นโรคมีอาการดีขึ้น ให้ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา ทุกๆ 15 วันครั้ง และลดความถี่ในการใช้ลง แต่อย่างน้อยควรใช้ไตรโคเดอร์มาในสวน 2-3 ครั้งถึงแม้จะไม่มีการระบาดของโรค
ใช้กำจัดเชื้อราก่อโรครากเน่าโคนเน่าในดินแบบเฉียบพลัน
ในกรณีเกิดการระบาดของโรคอย่างรุนแรง ควรใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราสาเหตุ เพื่อหยุดการระบาดของเชื้อราให้เร็วที่สุด โดยดูกลุ่มสารเคมีที่ใช้ได้ด้านบนของบทความ