ไคโตซาน (Chitosan) สารกระตุ้นพืชสร้างภูมิต้านทาานโรคและแมลงศัตรูพืช
Chitosan เป็นสารสกัดที่ได้จากธรรมชาติ ช่วยให้สร้างความแข็งแรงให้กับพืช
ไคโตซาน คือ :
ไคโตซาน คือสารอนุพันธ์ของไคติน สกัดที่ได้จากธรรมชาติ อาทิเช่นเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนปลาหมึก ไคโตซาน มีความปลอดภัยสูงต่อทั้งคนและสัตว์เลี้ยง และยังมีสรรพคุณทางด้านต่างๆอีกมากมาย ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านความงาม ด้านการแพทย์ ฯลฯ
ไคโตซาน ในภาคการเกษตร
สรรพคุณไคโตซานด้านการเกษตร มีการนำไคโตซานมาใช้ในการเกษตรอย่างกว้างขวางเนื่องจาก ไคโตซานเป็นมิตรต่อพืชและสวนมีความปลอดภัยต่อคนและสัตว์ และ ประโยชน์ของไคโตซานในภาคการเกษตรมีหลากหลายมาก อาทิเช่น ช่วยปรับสภาพดิน,น้ำ,อากาศให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันและยับยั้ง เชื้อราไวรัส แบคทีเรียต่างๆที่ก่อให้เกิดโรคในพืชได้เป็นอย่างดี และช่วยปรับแร่ธาตุ ฮอร์โมนต่างๆในพืชให้เกิดความสมดุล ส่งผลทำให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น
ไคโตซานมีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร
- ช่วยปรับสภาพดิน น้ำ อากาศ ให้เกิดความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
- ไคโตซาน ช่วยยับยั้ง เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ที่เป็นเชื้อสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคพืช
- ช่วยปรับสมดุลแร่ธาตุต่างๆรวมถึงฮอร์โมน ส่งผลให้พืชแข็งแรง ผลผลิตเพิ่ม
- กระตุ้นพืชสร้างความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช
- ใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์
- ช่วยให้พืชกินปุ๋ยแร่ธาตุต่างๆได้อย่างเต็มที่ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชอย่างต่อเนื่อง
ไคโตซาน ช่วยปรับความสมดุลในดิน
ไคโตซานช่วยปรับสภาพดิน การใช้ไคโคซานต่อเนื่องจะช่วยปรับค่าความเป็นกรดด่างในดินให้เกิดความสมดุลที่ Ph 6-7 เป็นค่าที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช
ไคโตซาน ช่วยปลดปล่อยแร่ธาตุต่างๆในดิน
ไคโตซาน ช่อยย่อยสลาย ปลดปล่อยแร่ธาตุ สารเคมี ที่ตกค้างในดินอันเนื่องมาจากการใช้ปุ่ยเคมีอย่างยาวนาน ทำให้พืชนำแร่ธาตุต่างๆมาใช้ได้อีกครั้ง จึงช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี
ไคโตซานพืชพร้อมใช้
ไคโตซาน เพียว (Chitosan Pure) คือ ไคโตซานบริสุทธิ์ไม่ผสมปุ๋ย เหมาะสำหรับพืชทุกชนิด
ทำไมต้อง Chitosan Pure ไคโตซานพืชพร้อมใช้
- เป็นวัสดุชีวภาพ (Biomaterials ) สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
- มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์
- ไม่เกิดผลเสีย และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
- ไม่เกิดการแพ้
- ไม่ไวไฟ
- ไม่เป็นพืษ (non phytotoxic ) ต่อพืช
ไคโตซานเพียว ดีอย่างไร
ใช้ง่ายเพียงแค่ผสมน้ำตามอัตราส่วนแล้วฉีดพ่นหรือรดลงดินได้ทันที เป็นไคโตซานบริสุทธิ์ไม่ผสมปุ๋ย
ไคโตซานเพียวมีประโยชน์อย่างไร
ไคโตซานช่วยเร่งการเติบโตในพืช :
เนื่องจากโครงสร้างของไคโตซานมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ จึงสามารถเป็นปุ๋ยชีวภาพค่อยๆปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างต่อเนื่องทำให้พืชได้รับอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการเจริญอย่างต่อเนื่อง
ไคโตซาน เพียวช่วยกระตุ้นพืชสร้างความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช :
ไคโตซานสามารถกระตุ้นการผลิตสารลิกนิน และสารแทนนินให้เพิ่มมากขึ้น พืชสามารถใช้สารเหล่านี้ในการป้องกันตัวจากแมลงศัตรูพืชต่างๆ เข้ามากัด ดูดทำลาย โดยพืชที่ฉีดพ่นไคโตซานเป็นประจำ จะมีสารที่คล้ายแวกซ์เคลือบที่ผิวใบ
ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
ไคโคซานช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เช่นเชื้อ Actinomycete sp. เชื้อ Trichoderma spp. ทำให้เกิดการลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคพืช เช่น เชื้อ (Furarium) เชื้อ Phythophthora spp. และเชื้อก่อโรคพืชอื่นๆ
ไคโตซานช่วยยับยั้งเชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อก่อโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคพืช
ไคโตซานสามารถยับยั้ง เชื้อก่อให้เกิดโรคพืชได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด เช่น เชื้อไฟทอปธอรา พิเทียม โดยไคโตซานจะซึมผ่านเข้าทางผิวใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืช (รักษาโรคพืช) เช่น โรค แอนแทรคโนส เมลาโนส โรครากเน่า โคนเน่า ราน้ำค้าง ราขาว โรคแคงเกอร์ โรคใบติด โรคใบจุด โรคใบสีส้มในนาข้าว และโรคอื่นๆ และยังสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ยังไม่เป็นโรคได้อีกด้วย
ไคโตซานสามารถเป็นสารฆ่าแมลงศัตรูพืชได้
สารอนุพันธฺิ์ของไคติน และไคโตซานถูกนำไปใช้ในการขบวนการผลิตเอ็นไซม์ chitinase ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลง โดยที่เอ็นไซม์ไคติเนส จะย่อยสลายไคติน ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ของเปลือกหุ้มตัวของแมลงศัตรูพืช
ไคโตซานเป็นสารช่วยปรับปรุงดิน
ไคตินและไคโตซานสามารถนำมาปรับปรุงดิน ถ้าเป็นดินเหนียวไคตินจะช่วยเพิ่มความพรุนของดิน เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำในดินทรายและดินร่วน และยังทำหน้าที่เป็นสารพาที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสารที่เป็นธาตุอาหารรอง และเสริม (micro organic ) โดยไคโตซานจะจับสารเหล่านั้นจนอยู่ในรูปคีเลต แล้วค่อยๆปลดปล่อยออกมาให้พืช ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนานในอัตราคงที่ ตามอัตราการย่อยสลายอนุพันธ์ของไคตินและไคโตซาน ช่วยลดปัญหา การใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น ซึ่งมีผลต่อพืชและสภาพดิน
วิธีใช้ไคโตซานเพียว
นำไปฉีดให้กับพืชสวน หรือทีปลูกในแบบไฮโดรโปรนิกส์ โดยฉีดให้ที่ใบพืชเพียงให้ใบเปรียก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ต่อครั้ง ต้นไม้จะดูดซับสารไคโตซานที่ฉีดให้เข้าไปทางปากใบ
ใช้เพื่อกระตุ้นให้พืชสร้างความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช อย่าง หนอนใยผัก หนอนคืบ และอื่นๆ
วิธีการใช้ การพ่นทางใบ ลำต้น (ขึ้นอยู่กับส่วนที่ศัตรูพืชอาศัยอยู่) อัตราการใช้ 10-20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
ใช้เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเขื้อสาเหตุโรคพืช
-ไวรัสโรคพืช
-แบคทีเรีย เช่นแคงเกอร์ ใบจุด
-เชือรา เช่น เชื้อไฟทอปธอร่า พิเทียม ฟิวซาเรียม Botrytis cineres ,Rhizopus stolonifer
-แอนแทรคโนส เมลาโนส ราน้ำค้าง ใบติด ราขาว – โคนเน่า ใบจุด โรคใบสีส้ม ใบลาย
วิธีการใช้ โดยการพ่นทางใบ ให้ฉีดที่ใบพืชเพียงให้ใบเปรียก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ต่อครั้ง ในอัตราการใช้ 10-20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร