เพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน (durian psyllids) แมลงศัตรูของทุเรียนอีกชนิดหนึ่งที่สามารถทำความเสียหายให้กับทุเรียนอย่างมากในแหล่งปลูกทุเรียนทั่วไป เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สามารถสร้างความเสียหายให้กับทุเรียนได้
เพลี้ยไก่แจ้ มีลักษณะดังต่อไปนี้
ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อของใบพืช มีลักษณะเป็นตุ่มสีเหลืองหรือน้ำตาล เป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มมีไข่ประมาณ 8-14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนมีขนาดเล็ก
มากประมาณ 1 มิลลิเมตร และเมื่อพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะต่อไปมีขนาดใหญ่ขึ้นยาวประมาณ 3 มิลลิเมตรมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะที่ด้านท้ายของลำตัวจะมีปุยยาวสีขาว คล้ายๆกับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า“เพลี้ยไก่แจ้”หรือ“เพลี้ยไก่ฟ้า”
เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนเขียวขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร และมีอายุยาวถึง 6 เดือน โดยปกติตัวเต็มวัยจะไม่ค่อยบินนอกจากถูกรบกวนแมลงชนิดนี้มีการระบาดในท้องที่ปลูกทุเรียนทั่วไป และระบาดในช่วงทุเรียนแตกใบอ่อน
ลักษณะของทุเรียนที่ถูกเพลี้ยไก่แจ้ทำลาย
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลืองไม่เจริญเติบโตเมื่อระบาดมากๆ ทำให้ใบหงิกงอ
ถ้าเพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายในช่วงที่ใบอ่อนยังเล็กมาก และยังไม่คลี่ออกจะทำให้ใบแห้งและร่วงตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้จะขับสารเหนียวสีขาวออกมาปกคลุมใบทุเรียน เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารชนิดนี้ถูกขับออกมา
ระยะตัวอ่อนทำความเสียหายมากที่สุด
การ กำจัดเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน ทำได้หลายวิธี
การใช้สารสกัดจากพืชหรือสารชีวภัณฑ์ เช่น การใช้สารสกัดจากสะเดา หางไหล หนอนตายหยาก เชื้อราขาวบิวเวอเรีย การใช้สารชีวภัณฑ์นอกจาก
เป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับแปลงทุเรียนอินทรีย์แล้ว ยังสามารถใช้ในแปลงเคมีได้ด้วยเช่นกัน ช่วยลดการใช้สารเคมี และการใช้วิธีปลอ่ยหรืออนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้ แมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้มีหลายชนิดทั้งแมลงห้ำ ได้แก่ ด้วงเต่าลาย 3 ชนิด ในวงศ์Coccinellidae คือ Menochilus sexmaculatus (Fabricius), Micraspis discolor (Fabricius) แ ละCoccinella transversalis Fabricius แมลงช้างปีกใส Chrysopa sp., Ankylopteryx octopuctataและ Hemerobius sp. แมลงเบียน พบแตนเบียนตัวอ่อนเพลี้ยไก่แจ้ในวงศ์ Encyrtidae และพบปริมาณค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในสวนที่ใช้สารเคมีน้อย
ใช้สารสะกัดจากธรรมชาติ
1.สารสกัดจากสะเดา
2.สารสกัดหางไหล
3.สารสกัดหนอนตายหยาก
ใช้สารชีวภัณฑ์
-ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย (Beauveria Bassiana) คือเชื้อราชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนติดเชื้อและเกิดโรคตาย
ใช้สารเคมี
1. เพลี้ยไก่แจ้จะทำลายเฉพาะใบอ่อนทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ และโดยปกติทุเรียนแตกใบอ่อน ไม่พร้อมกันแม้แต่ทุเรียนในสวนเดียวกัน ชาวสวนทุเรียนควรจะพ่นสารฆ่าแมลงเมื่อทุเรียนส่วนใหญ่แตกใบอ่อน
2.สำหรับต้นที่แตกใบอ่อนไม่พร้อมต้นอื่นควรพ่นเฉพาะต้น วิธีนี้ช่วยลดการใช้สารฆ่าแมลง และเปิดโอกาสให้ศัตรูธรรมชาติได้มีบทบาทในการควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ และยังเป็นการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้อีกด้วย
3.วิธีบังคับให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมกัน ซึ่งอาจกระตุ้นด้วยการพ่นยูเรีย (46-0-0) อัตรา กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรเพื่อลดช่วงการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ จะช่วยลดการใช้สารเคมีลงได้มาก โดยปกติทุเรียนต้องการใบอ่อนที่สมบูรณ์ 2-3 ชุดต่อปี เพี่อให้ต้นทุเรียนพร้อมที่จะให้ผล
4. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเมื่อเพลี้ยไก่แจ้ระบาดมาก อาทิเช่น
Lambdacyhalothrin แลมป์ดา-ไซฮาโลทริน (Karate5% EC) อัตรา10 มิลลิลิตร
Carbosulfan คาร์โบซัลแฟน (Posse 20% EC) อัตรา50 มิลลิลิตร
Carbaryl คาร์บาริล (Sevin85 WP 85% WP) อัตรา 10 กรัม
Cypermethrin ไซเพอร์เมทริน (Parzon 6.25%/22.5% EC) อัตรา40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
Phosalone โฟซาโลน(Parzon 6.25%/22.5% EC) อัตรา40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นทุก 7-10 วัน ในช่วงระยะแตกใบอ่อน