หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

ทำความรู้จัก หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน มีชื่อหลายชื่อด้วยกัน ได้แก่ หนอนใต้ หนอนมาเลย์ หนอนรู ตามลักษณะที่มีของหนอนและลักษณะการทำลายทุเรียน

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนตัวเต็มวัยคือ ผีเสื้อกลางคืน มีสีน้ำตาลอมเทา มีจุดสีขาวบนสันหลังอก มีจุดใหญ่ที่ขอบปีกอย่างน้อย 3 จุด และจุดเล็กที่มุมปีกอีก 1-3 จุด

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ขยายพันธุ์โดยที่ ตัวเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ 100-200 ฟอง โดยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ

บริเวณหนามทุเรียนใกล้ขั้วผล ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่จะเจาะไชเข้าไป ภายในผล และอาศัยกัดกินอยู่ภายในเมล็ด โดยปราศจากร่องรอยของการทำลายผิวผลภายนอกให้เห็น

การเข้าทำลาย

  • ทำลายทุเรียนในระยะที่เมล็ดแข็งแล้ว
  • กัดกินเมล็ดภายในผลประมาณ 30- 40 วัน
  • ขับถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อนเสียหาย
  • หนอนจะอาศัยอยู่ในผลทุเรียนจนผลแก่
  • ถ้าผลทุเรียนหลุดร่วงก่อนหนอนจะเจาะผลออกมาและเข้าดักแด้ในดินระยะเวลา 1-9 เดือน
  • ตัวเต็มวัยที่ออกจากดักแด้สามารถทำลายทุเรียนรุ่นถัดไปได้ทั้งผลผลิตภายในปีเดียวและปีถัดไปได้
หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

5 ขั่นตอนป้องกันและกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

  1. ไม่ควรนำเมล็ดทุเรียนที่อื่นเข้ามาในแหล่งปลูก แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องนำเข้ามาให้คัดเลือกเมล็ดอย่างระมัดระวัง หรือแช่เมล็ดด้วยสารฆ่าแมลง เช่น malathion (Malathion 83% EC) อัตรา40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรก่อนทำการขนย้ายจะช่วยกำจัดหนอนได้
  2. ป้องกันการเข้าทำลายของหนอน โดยห่อผลทุเรียนด้วยถุงพลาสติกสีขาวขุ่นขนาด 40 x 70 เซนติเมตร และเจาะก้นถุงเพื่อระบายน้ำ ช่วยป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยมาวางไข่ได้ ห่อผลไปจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต

โดยก่อนห่อผลให้สำรวจเพลี้ยแป้งก่อนเสมอ ถ้ามีให้กำจัดโดย ใช้แปรงปัดออก แล้วพ่นด้วยสาร chlorpyrifos (Pyrenex 20% EC) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร การห่อผลทุเรียนต้องห่อโดยปราศจากเพลี้ยแป้งเสมอ

3.การป้องกันกำจัดโดยการพ่นสารฆ่าแมลง cypermethrin/phosalone(Parzon 6.25%/22.5% EC) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เริ่มเมื่อผลอายุ6 สัปดาห์ และห่อด้วยถุงพลาสติกขาวขุ่น ขนาด 40×75 เซนติเมตร เจาะมุมก้นถุงเพื่อระบายน้ำ เมื่อผลอายุ 10 สัปดาห์ โดยเลือกห่อเฉพาะผลที่มีขนาดและรูปทรงได้มาตรฐาน ก่อนห่อผลควรมีการสำรวจเพลี้ยแป้ง และพ่นสารกำจัดแมลงเมื่อพบเพลี้ยแป้งระบาด

4.ใช้ดักแสงไฟ black light เป็นเครื่องมือตรวจการระบาดของผีเสื้อหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเพื่อให้ทราบว่ามีการระบาดในช่วงไหน สามารถช่วยให้การใช้สารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถลดจำนวนการพ่นสารฆ่าแมลงจากที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติอยู่ที่พ่นตั้งแต่ทุเรียนเริ่มออกดอก

5.การกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน โดยใช้สารฆ่าแมลง เมื่อพบว่าตัวเต็มวัยเริ่มระบาดให้ใช้ดังต่อไปนี้

  • Carbaryl (Sevin85 WP 85% WP) ในอัตรา 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร
  • Deltamethrin (Decis3 3% EC) ในอัตรา 15 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร
  • Lambdacyhalothrin (KarateZeon 2.5 CS 2.5%CS) ในอัตรา 20 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร
  • Betacyfluthrin (Folitec 025 EC2.5% EC) ในอัตรา 20 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร
  • Cypermethrin/phosalone(Parzon6.25%/22.5% EC) ในอัตรา 40 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร

6.ใช้สารชีวภัณฑ์และสารสกัดจากสมุนไพรต่างๆในการป้องกันและกำจัดระยะต่างๆของหนอน

โดยให้เริ่มฉีดพ่นเมื่อผลทุเรียนในช่วง อายุ 6-10 สัปดาห์ ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้ง รวม 5 ครั้ง

Custom footer text for child theme